รวมวิชาการและสาระน่ารู้เกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่นเอาไว้ เพื่อให้เพื่อนๆ ได้ศึกษาและนำไปใช้งานได้ต่อไป
อุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งในระบบวิทยุสื่อสารคือ เครื่องจูนสายอากาศ (Antenna Tuner) เพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นหลายท่านอาจจะสงสัยว่ามันคืออะไร ทำอะไร และสิ่งที่มันทำนั้นเป็นจริงหรือไม่ มีผลกับการใช้งานจริงๆ หรือเพียงหลอกลวงภาคส่งของเครื่องวิทยุสื่อสารเท่านั้น บทความนี้คงทำให้เข้าใจได้ดีขึ้นครับ <อ่านต่อ>
การสื่อสารในย่านความถี่ HF นั้นอาศัยการสะท้อนของคลื่นจากชั้นบรรยากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชั้น F แต่คุณสมบัติของบรรยากาศชั้นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นห่างไกลจากโลกเรามากมายก็คือบนดวงอาทิตย์นั่นเอง <อ่านต่อ>
นักวิทยุสมัครเล่นคงคุ้นเคยกับคำว่าความต้านทานของสายอากาศกันเป็นอย่างดี และยังรู้ด้วยว่าไม่สามารถวัดได้ด้วยโอห์มมิเตอร์ธรรมดา แต่แท้ที่จริงแล้วเรารู้หรือไม่ว่ามันคืออะไร มันเป็นตัวแทนของอะไร มีที่มาอย่างไร มาหาคำตอบง่ายๆ กันดีกว่า <อ่านต่อ>
บาลัน มีไว้เพื่อต่อเชื่อมระบบที่เป็นแบบสมดุล (Balance) กับไม่สมดุล (Unbalance) เข้าด้วยกัน ที่จริงมีหลายแบบหลายหลักการ เรายกตัวอย่างบาลันแบบโวลเตจที่สร้างจากสายนำสัญญาณแบบโคแอกเชียล ดูว่ามันทำงานอย่างไร และลองสร้างกันครับ <อ่านต่อ>
ระบบวิทยุแบบดิจิตอลเริ่มเข้ามามีบทบาทในวงการวิทยุสมัครเล่นมากขึ้น เพราะนอกจากให้คุณภาพเสียงที่ชัดเจนแล้ว ยังสามารถต่อเชื่อมเข้ากับโครงข่ายดิจิตอลอื่นได้ง่าย นั่นรวมถึงอินเทอร์เน็ตด้วย ทำให้การสื่อสารเป็นไปได้ทั่วโลก อย่างไรก็ตามบางครั้งเครื่องวิทยุระบบดิจิตอลเองมีราคาสูงหรืออาจจะไม่สะดวกในการใช้งานในบางลักษณะ จึงมีนักวิทยุสมัครเล่นบางท่านหาวิธีต่อเชื่อมเข้าโครงข่ายโดยใช้อุปกรณ์ประเภทคอมพิวเตอร์แทน <อ่านต่อ>
ในหลายสภาวการณ์คลื่นวิทยุความถี่ย่าน HF สามารถเดินทางได้รอบโลก หรือยิ่งกว่านั้นอาจจะวนอ้อมกลับมาที่เดิมได้ด้วย ในการติดต่อระยะทางไกลบางครั้งเราอาจเลือกให้คลื่นเดินทางในทิศทางอ้อมโลก (ทิศที่ไกลกว่า - Long Path) ไปหาคู่สถานีก็ได้ มาดูกันว่าทำไมเราทำแบบนั้น <อ่านต่อ>
คลื่นวิทยุในย่านความถี่ HF (3-30MHz) มีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถ (ดูเหมือนว่า) สะท้อนกลับจากชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกไว้ได้ ชั้นบรรยากาศนี้เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลาของวัน และในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างกลางวันและกลางคืน (เรียกว่า Grey Line) คุณสมบัติของชั้นบรรยากาศอาจจะมีลักษณะพิเศษที่เอื้ออำนวยต่อการเดินทางของคลื่นในย่านความถี่ HF และทำให้ติดต่อได้ไกลขึ้น <อ่านต่อ>
สัญญาณรบกวน (noise) หลายชนิดเป็นสัญญาณแบบ common mode ในขณะที่สัญญาณที่เราต้องการ (signal) เป็นสัญญาณแบบ differential mode ด้วยความแตกต่างนี้เราจึงสามารถสร้างอุปกรณ์แบบพาสซีฟ (ไม่ใช้ไฟเลี้ยง) ในการกรองสัญญาณรบกวนแบบ common mode ออกไปได้ มารู้จักการทำงานของอุปกรณ์นี้กันครับ <อ่านต่อ>
สัญญาณรบกวนเป็นปัญหาสำคัญหนึ่งในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ สัญญาณรบกวนบางชนิดอยู่ในช่วงความถี่ย่านวิทยุที่แพร่กระจายไปมาได้ทางอากาศ (จึงเรียกว่า Electromagnetic Interference หรือ EMI) อุปกรณ์เล็กๆ หนึ่งที่มีประสิทธิภาพดีในการกำจัดสัญญาณรบกวนนี้คือเฟอร์ไร้ท์ (ferrite) แต่มันทำงานอย่างไร แล้วเราจะเลือกชนิดของเฟอร์ไร้ท์อย่างไร อ่านเพิ่มเติมได้ในเรื่องนี้ <อ่านต่อ>
การจูนสายอากาศ เรื่องจริงหรือหลอกลวง
ดวงอาทิตย์กับการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ
ความต้านทานของสายอากาศมีที่มาอย่างไร
S meter ของวิทยุย่าน HF และ VHF เหมือนกันหรือไม่
เพื่อนๆ นักวิทยุสมัครเล่นทุกคนคงรู้จักมาตรวัดความแรงของสัญญาณที่เรียกว่า S meter กันดี แต่เคยมีใครสงสัยไหมครับว่า S meter ของภาครับของเครื่องวิทยุแบนด์ต่างๆ (เช่น HF และ VHF) นั้น เหมือนกันหรือไม่ <อ่านต่อ>การติดตั้ง DVSwitch (ตอนที่ 2)
หลังจากที่เราได้แนะนำเกี่ยวกับโปรแกรม DVSwitch กันไปในตอนที่ 1 แล้ว คราวนี้เรามาลองติดตั้งโปรแกรมนี้ให้ทำงานได้จริงๆ กันนะครับ <อ่านต่อ>ทำบาลันไว้ใช้กันดีกว่า
แนะนำโปรแกรม DVSwitch (ตอนที่ 1)
Long Path คืออะไร
Grey Line คืออะไร
Common mode choke คืออะไรและทำงานอย่างไร
Ferrite กับการลดสัญญาณรบกวน EMI
สายนำสัญญาณแบบ Ladder Line
มุมยิงของสายอากาศในแนวระดับ
สายอากาศแพร่กระจายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกรอบๆ ตัวมัน และไม่มีสายอากาศใดในโลก (ที่สร้างได้จริง) ที่แพร่กระจายคลื่นไปในทุกทิศทางในสามมิติเท่าๆ กัน (มีสายอากาศสมมติที่เรียกว่า isotropic antenna ที่มีคุณสมบัตินั้น แต่ก็ไม่สามารถสร้างขึ้นได้จริงๆ) บางครั้งมุมยิงนี่เองที่ทำให้ผลการใช้งานต่างกันมาก <อ่านต่อ>สายอากาศแบบ Traveling Wave คืออะไร
สายอากาศที่เราสามารถใช้งานได้มีหลายรูปแบบมาก แต่ที่เราคุ้นเคยกันมักเป็นสายอากาศแบบเรโซแนนซ์ เพราะมีขนาดเล็ก สร้างง่าย เคลื่อนย้ายได้ง่าย แต่ยังมีสายอากาศอีกหลายแบบมากที่เราสามารถออกแบบและใช้งานได้ หนึ่งในนั้นคือสายอากาศแบบคลื่นเดินทาง Traveling Wave ซึ่งเป็นสายอากาศแบบไม่เรโซแนนซ์ <อ่านต่อ>ข้อควรระวังในการใช้งานมิเตอร์
เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญของช่าง วิศวกรไฟฟ้า รวมไปถึงนักวิทยุสมัครเล่นด้วย หลายครั้งเราก็มีความสุขกับการใช้งานเครื่องมือวัดเหล่านั้น แต่หลายครั้งก็ดูเหมือนมันจะวัดค่าออกมาได้ไม่ตรงกับที่เราต้องการ รวมทั้งบางทีมันไปรบกวนการทำงานของวงจรไฟฟ้าของเราอีกด้วย ลองดูว่าเราต้องระวังอะไรในการใช้งานมันบ้าง <อ่านต่อ>เครื่องวัด VSWR และ เครื่องวิเคราะห์สายอากาศ ต่างกันอย่างไร
เครื่องมือแรกๆ ที่นักวิทยุสมัครเล่นมีใช้กันนอกจากตัวเครื่องวิทยุ สายนำสัญญาณ สายอากาศ และแหล่งจ่ายไฟแล้ว ก็มักเป็น VSWR meter ที่ราคาไม่สูงนักและใช้ประโยชน์ในการวัดการสะท้อนกลับเนื่องจากการไม่แมทช์ (ไม่เท่ากัน) ของอิมพิแดนซ์ของสายอากาศและระบบ (50 โอห์ม) ได้ดี อย่างไรก็ตาม VSWR meter ก็ไม่สามารถทำสิ่งที่เครื่องวิเคราะห์สายอากาศ -(Antenna Analyzer) สามารถทำได้ <อ่านต่อ>การสูญเสียกำลังในสายนำสัญญาณ (ตอนที่ 2)
หลังจากรู้พื้นฐานว่าสายนำสัญญาณสูญเสียความสามารถในการส่งกำลังจากอะไรบ้าง คราวนี้มาดูว่าสายนำสัญญาณแต่ละชนิดสูญเสียกำลังเท่าไร และหากเราใช้สายนำสัญญาณความยาวต่างๆ จะเสียกำลังไปเท่าไร มาดูวิธีคำนวณกัน <อ่านต่อ>การสูญเสียกำลังในสายนำสัญญาณ (ตอนที่ 1)
นักวิทยุสมัครเล่นทราบกันดีว่าสายนำสัญญาณจะมีการสูญเสียพลังงานที่เรียกว่า Loss แต่การสูญเสียนี้ขึ้นกับอะไรบ้าง มาดูกันใน "การสูญเสียกำลังในสายนำสัญญาณ (ตอนที่ 1)" <อ่านต่อ> ดาวเทียมโคจรรอบโลกได้อย่างไร
เมื่อพูดถึงดาวเทียม แทบทุกคนต้องรู้จักอยู่แล้ว ยิ่งเดี๋ยวนี้การสร้างและยิงดาวเทียมขึ้นสู่ท้องฟ้าไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป นักวิทยุสมัครเล่นเองก็มีดาวเทียมใช้งานอยู่ไม่น้อย นอกจากการใช้งานความถี่ในการติดต่อกันแล้ว เราก็น่าจะทราบหลักการที่ทำให้ดาวเทียมโคจรรอบโลกอยู่ได้ ลองดูเรื่องนี้นะครับ <อ่านต่อ>การเพิ่มประสิทธิผลให้สายอากาศยาง
สายอากาศแรกๆ ที่เรารู้จักกันมักเป็นสายอากาศยางที่ติดเครื่้องวิทยุสื่อสารมาเมื่อเราซื้อมันเป็นครั้งแรก เรียกได้ว่าแม้ไม่อยากจะรู้จักก็ต้องรู้จักมันอยู่ดี สายอากาศยางพอใช้งานได้ในระดับหนึ่ง แต่เราก็สามารถเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานของมันได้ด้วยการดัดแปลงเพียงเล็กน้อย <อ่านต่อ>ดัดแปลง MMDVM Jumbo Board ให้ทำงานในย่านความถี่ VHF
นักวิทยุสมัครเล่นเป็นคนที่ใฝ่หาความรู้ ชอบดัดแปลง และทำสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ทางการสื่อสารตลอดเวลา บางครั้งเราอาจจำเป็นต้องดัดแปลงอุปกรณ์ที่มีอยู่ หรือที่สามารถหาซื้อได้ ให้ใช้งานกับความถี่ที่เราต้องการที่ได้รับอนุญาต เช่นในโครงงานนี้ เราทำให้อุปกรณ์ที่เรียกว่า MMDVM Jumbo Board ที่เป็นส่วนรับ/ส่งสัญญาณวิทยุในระบบ Hotspot ส่วนตัว ที่หาซื้อได้เป็นความถี่ UHF ให้มาทำงานในความถี่ VHF <อ่านต่อ>VSWR กับนักวิทยุสมัครเล่น
เพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นใหม่ๆ ล้วนน่าจะถูกเตือน ถูกขู่ จนกระทั่งกินไม่ได้นอนไม่หลับ (ก็ มากไปหน่อย แต่เพื่ออรรถรสในการอ่านนิดหนึ่ง) ว่าถ้าค่าสูง (แค่ไหนล่ะ) แล้วจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ไปๆ มาๆ ทั้งชีวิตของนักวิทยุเลยมีตัวเลข VSWR นี้เป็นศาสดาไปเลย ซึ่งที่จริงแล้ว มันอาจจะ ไม่ขนาดนั้น ก็ได้ <อ่านต่อ>เฉลยความลับการทำให้สายอากาศมีเกน
เพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นหลายคนคงชอบที่จะใช้สายอากาศที่มีเกน (ที่เรียกว่า เกนขยาย นั่นล่ะครับ ผิดครึ่งถูกครึ่งก็ไม่ว่ากันล่ะ เพราะยังไม่เกี่ยวกับบทความนี้) แต่สงสัยไหมครับว่า แล้วเขาทำอย่างไรให้สายอากาศมีเกนได้ <อ่านต่อ>เกนของสายอากาศคืออะไร
ทุกครั้งที่พูดถึงเรื่องเกี่ยวกับเกนของสายอากาศ ก็มักมีข้อให้สงสัยเสมอว่ามันคืออะไรแน่ บางทีบางคนที่คิดว่าเข้าใจมัน อาจจะไม่จริงก็ได้ เรื่องนี้จะพูดเกี่ยวกับพื้นฐานของเกนของสายอากาศให้เราได้รู้จักมันดีขึ้นจริงๆ <อ่านต่อ>Propagation หมายถึงอะไรกันแน่
หลายคนได้ยินคำนี้กันมาแล้ว แต่อาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร หรืออาจจะเข้าใจแต่บางมุมที่ไม่ใช่แง่มุมทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง ลองดูกันสักนิดว่า Propagation ของคลื่น คืออะไร <อ่านต่อ>การสูญเสียกำลังในสายนำสัญญาณ
สายนำสัญญาณในชีวิตจริงของเรามีการสูญเสียกำลัง (ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) สิ่งที่ตามมานอกจากกำลังจะหายไปแล้ว ยังมีเรื่องของ VSWR และ อิมพิแดนซ์ที่มองเห็นอีกด้านหนึ่งของสายนำสัญญาณนั้นด้วย <อ่านต่อ> ไขความลับการทริมสายนำสัญญาณและสายครู
เพื่อนๆ คงเคยได้ยินคำว่า "การทริมสายนำสัญญาณ" และ "สายครู" กันมาบ้าง แต่เราทราบจริงๆ หรือไม่ว่าการทริมสายนำสัญญาณนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง ได้ผลจริงหรือไม่อย่างไร รวมไปถึงการสร้าง "สายครู" ขึ้นมาสักเส้นนั้น มันใช้งานได้จริงหรือไม่ เราเข้าใจมันจริงๆ หรือเปล่า <อ่านต่อ>อิมพีแดนซ์จำเพาะของสายนำสัญญาณ
สายนำสัญญาณที่พวกเรานักวิทยุสมัครเล่นใช้กันนั้นเชื่อกันว่ามีความต้านทาน 50 และ 75 โอห์ม พวก 75 โอห์มก็มักไว้ใช้งานวัตถุประสงค์พิเศษเช่นไว้แปลงอิมพิแดนซ์ ส่วนสายนำสัญญาณที่เราใช้ทำหน้าที่พากำลังคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปมาระหว่างอุปกรณ์วิทยุต่างๆ ไปจนถึงสายอากาศนั้นเราใช้ที่เป็นขนาด 50 โอห์ม ว่าแต่... ที่ว่ามันเป็น 50 โอห์มนั้น จริงหรือเปล่า <อ่านต่อ>การเดินทางของคลื่นวิทยุผ่าน ดิน น้ำ ผนังถ้ำ
เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมเราถึงสื่อสารผ่านถ้ำหนาๆ ไม่ได้ หรือเรือดำน้ำที่อยู่ใต้น้ำถึงมีปัญหาในการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูงๆ (นอกเหนือไปจากที่จะต้องทำตัว "ลึกลับ" อยู่ใต้น้ำ ถ้ามีการใช้วิทยุมากหรือบ่อยอาจจะทำให้ข้าศึกรู้ตำแหน่งได้) เรื่องนี้จะบอกให้เข้าใจได้ไม่ยากนัก <อ่านต่อ>การมอดูเลตแบบต่างๆ
ลำพังคลื่นความถี่ที่เราสร้างขึ้นมานั้น ไม่สามารถนำพาเอาข้อมูลข่าวสาร เช่น เสียงพูด เสียงดนตรี หรืออื่นๆ ไปกับมันได้ เราจึงมีการดัดแปลงคลื่นที่กำเนิดขึ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงในตัวเอง โดยขึ้นกับข้อมูลข่าวสาร เสียงพูด เสียงดนตรีต่างๆ ที่เราต้องการ การทำอย่างนั้นเรียกว่าการ "มอดูเลต" คลื่นพาหะด้วยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งการมอดูเลตที่ใช้ทั่วไปและในวงการวิทยุสมัครเล่นนั้นมีหลายแบบ เราจะได้มาดูกันทีละแบบเลยว่ามันมีลักษณะอย่างไรในเรื่องนี้ <อ่านต่อ>Ground loop คืออะไรและแก้ไขอย่างไร
หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องของกราวด์ลูป (ground loop) กันมาบ้าง บางคนอาจจะเข้าใจหรือบางคนอาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร แต่ทั้งหมดน่าจะทราบว่ามันคือตัวสร้างปัญหาให้กับระบบของเรา แล้วมันคืออะไรกับสามารถป้องกันหรือแก้ไขได้อย่างไรล่ะ <อ่านต่อ>เรื่องเล่าเกี่ยวกับความเร็วคลื่นในสายนำสัญญาณ
หลายครั้งที่เราใช้งานสายนำสัญญาณ เราอาจจะไม่สนใจคุณสมบัติจำเพาะของมันอย่างละเอียดนัก ตลอดจนบางทีเราก็เชื่อว่า (เพราะคุ้นเคย) สายนำสัญญาณหน้าตาแบบนี้ รุ่นนี้ จะมีคุณสมบัติเหมือนกันหมด แต่บางครั้งของที่มาจากผู้ผลิตต่างกันอาจจะมีคุณสมบัติต่างกันที่ถึงกับทำให้เราปวดหัวได้เลยทีเดียว โดยเฉพาะ "ความเร็วของคลื่นในสายนำสัญญาณ" นั้นๆ <อ่านต่อ>สายอากาศทำงานอย่างไร
สายอากาศเป็นอุปกรณ์สำคัญมากในระบบวิทยุสื่อสาร เพราะมันทำหน้าที่แปลงรูปพลังงงานระหว่าง พลังงานไฟฟ้าและพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ทั้งที่สายอากาศเป็นอุปกรณ์สำคัญนี้ นักวิทยุสมัครเล่นหลายคนอาจจะไม่ทราบว่ามันแปลงพลังงานไฟฟ้าจากเครื่องส่งวิทยุไปเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้อย่างไร เรื่องนี้จะไขความข้องใจของท่านได้ครับ <อ่านต่อ>
ค่า Q คืออะไร
หลายครั้งที่เราเห็นคำว่า ค่าคิว คิวแฟคเตอร์ เพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นหลายท่านอาจจะเข้าใจอยู่แล้ว แต่หลายท่านอาจจะยังไม่เข้าใจและสับสนว่ากำลังพูดเรื่องอะไร เรื่องนี้จะบอกว่ามันคืออะไร เป็นผลมาจากอะไร เกี่ยวกับการตอบสนองความถี่อย่างไร <อ่านต่อ>ไขความลับสายอากาศ Folded Dipole (แบบที่เราใช้กัน)
หนึ่งในสายอากาศที่เป็นที่นิยมของนักวิทยุสมัครเล่นไทยมาแต่ไหนแต่ไรก็คือ สยอากาศแบบโฟลเด็ดไดโพล ส่วนมากแล้วจะเห็นการนำมาต่อร่วมกันเป็นอาเรย์ (array) เพื่อบังคับทิศทางของคลื่นทำให้มีอัตราขยายสูงในบางทิศทาง แต่สายอากาศแบบนี้ที่เราเห็นกันในประเทศไทยเป็นแบบที่มีการดัดแปลงเพิ่มขึ้น คือการลัดวงจรห่วงเสียครึ่งหนึ่ง และจากตรงนั้นเองที่มการเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อๆ กันมา <อ่านต่อ>สายอากาศแบบ Doublet
นักวิทยุหลายคนต้องการสายอากาศที่ทำงานได้ในหลายย่านความถี่ โดยยังมีการสูญเสียต่ำ แต่ไม่สามารถขึงสายอากาศหลายเส้นหรือหลายต้นได้ จึงจำเป็นต้องใช้สายอากาศเส้นเดียวกับหลายความถี่ให้ได้ สายอากาศแบบหลายย่านความถี่หรือ multiband เหล่านี้มีหลายประเภท และแบบที่ง่ายต่อการสร้างหนึ่งก็คือสายอากาศแบบ doublet <อ่านต่อ>คริสตัลฟิลเตอร์คืออะไร
เครื่องวิทยุสื่อสารหนึ่งเครื่องมีอุปกรณ์และวงจรมากมาย เฉพาะในเครื่องรับวิทยุก็ต้องมีวจรทำหน้าที่คัดแยกเอาเฉพาะความถี่และข้อมูลที่ต้องการสื่อสารออกมา หลายครั้งเราจำเป็นต้องพึ่งอุปกรณ์ประกอบเพื่อช่วยในการคัดกรองความถี่ที่เรียกว่าฟิลเตอร์ ซึ่งก็มีหลายชนิด และชนิดที่ดีกว่าวงจรแบบ L-C ทั่วไปก็คือ คริสตัลฟิลเตอร์ <อ่านต่อ>แบตเตอรี่แบบ Deep Cycle คืออะไร
หลายคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับแบตเตอรี่ชนิดที่เรียกว่า Deep Cycle Battery กันมาบ้าง แบตเตอรี่นี้ถูกออกแบบมาให้จ่ายไฟได้มาก แต่ก็มีข้อจำกัดและคุณสมบัติต่างจากแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดธรรมดาที่เราจำเป็นต้องทราบในการใช้งานให้คงทน <อ่านต่อ>VSWR มิเตอร์ทำงานอย่างไร
นักวิทยุสมัครเล่นทุกคนน่าจะรู้จักคำว่า VSWR และนอกจากนั้นอาจจะเคยใช้เครื่องมือเพื่อวัดค่าของมัน แต่หลายคนอาจจะไม่เคยทราบว่ามันวัดอะไรแน่ และมันทำงานได้อย่างไร ทำไมเราจึงต้องใช้มัน ลองอ่านเรื่องนี้ดูเพื่อทำความเข้าใจได้ดีขึ้นครับ <อ่านต่อ>
อินเตอร์มอดดูเลชั่น (Intermodulation) คืออะไร
หลายครั้งที่นักวิทยุได้ยินคำว่า "ม้อด" ซึ่งสื่อถึงการรบกวนแบบหนึ่ง แต่ก็แยกไม่ออกว่าคืออะไร หรือมีที่มาที่ไปอย่างไร เรื่องนี้จะทำให้เพื่อนๆ เข้าใจอย่างชัดเจนว่าการรบกวนที่เกิดนี้คืออะไร และจะช่วยกันลดปัญหานี้ได้อย่างไร <อ่านต่อ>แบนด์วิดท์ของสายอากาศคืออะไร
สายอากาศวิทยุสื่อสารที่เราใช้งานกันนั้น จะทำงานได้ดีในช่วงความถี่หนึ่งเท่านั้น ยกเว้นชนิดที่ออกแบบมาให้ทำงานได้ในช่วงความถี่ที่กว้างมากเปฺ็นพิเศษ ช่วงความถี่ที่สายอากาศสามารถทำงานได้ในคุณสมบัติจำเพาะหนึ่งๆ เรียกว่าแบนด์วิดท์ (bandwidth) ของสายอากาศนั้น <อ่านต่อ>การผสมสัญญาณและ sideband ที่เกิดขึ้น
หลังจากมีการสร้างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ก็เริ่มมีการติดต่อสื่อสารแบบที่เรียบง่ายที่สุดคือ "รหัสมอร์ส" หลังจากนั้นก็มีพัฒนาการโดยผสมเสียงและข้อมูลต่างๆ ลงไปกับคลื่นความถี่สูงก่อนที่จะส่งออกอากาศ การผสมคลื่นเหล่านี้มีสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นพร้อมๆ กันไปด้วย เรื่องนี้จะอธิบายให้เห็นว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง <อ่านต่อ>RF Ground คืออะไร
เพื่อนๆ เคยสงสัยบ้างหรือไม่ว่า สายอากาศบางอย่างก็มีกราวด์เพลน บางอย่างก็ไม่มีกราวด์เพลน ในขณะที่สายอากาศบางอย่างนั้นตอนที่ซื้อมาก็ไม่มีกราวด์เพลนแต่ตอนใช้กลับมีคนบอกว่าต้องใส่ RF ground ให้มันด้วยนะ (บางทีเรียก counterpoise) มาดูกันดีกว่าว่าเจ้า RF ground ที่ว่านั้นคืออะไร ทำไมต้องมีมันด้วย <อ่านต่อ>ลิเนียร์ทรานสปอนเดอร์คืออะไร
เราอาจจะเคยได้ยินคำว่า ทรานสปอนเดอร์ มาหลายครั้งแล้ว คำนี้ปรากฏอยู่กับของหลายอย่างเช่น เครื่องบิน ไปจนถึงดาวเทียม บางครั้งเราได้ยินคำใหม่ที่อาจจะซับซ้อนขึ้นคือ ลิเนียร์ทรานสปอนเดอร์ ทำให้อาจจะสงสังว่ามันคืออะไร มาลองดูกันในบทความนี้ดีกว่าครับ <อ่านต่อ>สายอากาศแบบ DC ground คืออะไร และป้องกันฟ้าผ่าได้จริงหรือ
เวลาเราเลือกซื้อสายอากาศ บางทีทั้งเพื่อนทั้งคนขายก็ถามเราว่าต้องการแบบ DC ground หรือไม่ บ้างก็ว่าปลอดภัยจากฟ้าผ่ามากกว่า ในขณะที่บางคนอาจจะยังไม่ทราบว่า DC ground หรือไม่ ground คืออะไรเลย เลยไม่รู้จะเชื่อเรื่องฟ้าผ่าหรือไม่ผ่าต่อไปดี ยิ่งปวดหัวหนัก ลองอ่านกันชัดๆ ดีกว่าครับ <อ่านต่อ>VSWR สูงแล้วเครื่องวิทยุจะเสียหายจริงหรือ
หลายครั้งจนนับไม่ถ้วน เรามักได้ยินคำเตือนจากเพื่อนนักวิทยุด้วยกันว่า ต้องแมทช์สายอากาศให้ดี (หรือดีที่สุด) เพื่อให้ค่า VSWR ต่ำ ไม่เช่นนั้นเครื่องวิทยุอาจจะเสียหายได้ เรื่องนี้เป็นความจริงหรือไม่ มีเงื่อนไขทฤษฎีสนับสนุนอย่างไร มาลองดูกันครับ <อ่านต่อ>Vmax และ Vmin ของคลื่นนิ่งบนสายนำสัญญาณ
เรื่องลึกแต่ไม่ลับของ VSWR
นักวิทยุจำนวนมากถูกสอนมาแต่แรกเกี่ยวกับค่า SWR หรือ VSWR แต่มีนักวิทยุจำนวนมากที่ยังมีความเข้าใจไม่ถูกต้อง หรือแม้แต่ผิดจากความเป็นจริงไปมาก ทำให้ความเข้าใจอื่นๆ ที่จะต่อยอดผิดไปและทำได้ยาก ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าเมื่อเราต่อสายอากาศ สายนำสัญญาณ เข้ากับเครื่องส่งวิทยุแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง <อ่านต่อ>เมื่อเครื่องรับ "หูตึง"
ติดตั้งสายอากาศสำหรับสถานีรถยนต์ตรงไหนดี
เพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นหลายท่านที่มีรถยนต์ อาจจะติดตั้งหรือคิดจะติดตั้งสถานีบนรถยนต์ของท่านอยู่ หลายคนอาจจะสงสัยว่าตำแหน่งที่ติดตั้งสายอากาศมีผลหรือไม่อย่างไร หลายคนอาจจะพยายามหาคำตอบแต่ก็ยังไม่ทราบชัดเจน ผมจึงพยายามหาข้อมูลมาเล่าให้เพื่อนเพื่อนฟังกันนะครับ <อ่านต่อ>กำลังส่งของเครื่องวิทยุ
เรื่องของกำลังส่งเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับนักวิทยุสมัครเล่น ไม่ใช่เพราะเราต้องการทำให้กำลังส่งสูงที่สุด (ในความเป็นจริงแล้วเราต้องการส่งด้วยกำลังส่งต่ำที่สุดเท่าที่จะติดต่อกันได้โดยไม่ลำบากต่างหาก) แต่การออกอากาศในหลายโหมดก็มีกำลังที่ต่างก้นออกไป มารู้จักกำลังส่งเหล่านี้กันดีกว่าครับ <อ่านต่อ>เรื่องยุ่งๆ ของค่า RMS และกำลังไฟฟ้า
เพื่อนๆ นักวิทยุสมัครเล่นอาจจะคุ้นเคยกับการคำนวณวงจรกระแสตรงง่ายๆ แต่เมื่อวงจรไฟฟ้าเป็นแบบกระแสสลับ หรือแม้แต่กระแสที่ไม่ต่อเนื่อง การคำนวณกำลังต่างๆ จึงเปลี่ยนไปและมีศัพท์ใหม่ๆ ให้ได้รู้เพิ่มเติม ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานสูงการเข้าใจเรื่องอื่นเพิ่มขึ้นรวมทั้งการเข้าใจกำลังส่งของเครื่องวิทยุสื่อสารอีกด้วย <อ่านต่อ>อากาศเปิดคืออะไร
การเป็นนักวิทยุสมัครเล่นมีอะไรที่น่าสนใจมากมาย หนึ่งในนั้นคือการได้พูดคุยติดต่อกับนักวิทยุสมัครเล่นอื่นในระยะทางไกลๆ ปกติแล้วคลื่นความถี่ย่าน VHF จะเดินทางได้ไม่ไกลมากนัก แต่บางทีก็เกิดสิ่งที่เรียกว่า "อากาศเปิด" ได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ของปี ทำให้เราติดต่อกันได้ไกลๆ มาดูกันว่ามันคืออะไร <อ่านต่อ>ATU อยู่ตรงไหนดี
สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นที่ใช้งานย่านความถี่ HF แล้ว จะมีอุปกรณ์หนึ่งที่คุ้นเคยและนำมาใช้งานอยู่ในระบบเสมอก็คือ เครื่องปรับอิมพิแดนซ์สายอากาศ หรือ Antenna Tuner นั่นเอง การติดตั้ง ATU นี้ทำได้หลายที่ แต่ละตำแหน่งก็มีความแตกต่างกัน มาดูกันสักนิดว่าต่างกันอย่างไร <อ่านต่อ>สายอากาศ ยากิ-อูดะ ทำงานอย่างไร
เชื่อว่านักวิทยุสมัครเล่นแทบทุกคนต้องเคยได้ยินชื่อของสายอากาศแบบ "ยากิ" กันมาบ้างแล้ว ที่จริงแล้วสายอากาศชนิดนี้เรียกว่าสายอากาศแบบ "ยากิ-อูดะ" มาดูกันว่าทำไมเรียกชื่อเต็มๆ ได้แบบนั้นแหละมันทำงานอย่างไร <อ่านต่อ>สายอากาศไดโพลแบบสั้น (shortened dipole antenna)
การติดต่อด้วยคลื่นวิทยุที่ระดับความถี่สูง (HF) แทนความถี่ระดับสูงมาก (VHF) จะมีพฤติกรรมการเดินทางของคลื่นต่างกัน คลื่นความถี่ HF สามารถเลี้ยวเบนกลับลงมาจากชั้นบรรยากาศทำให้ได้ระยะทางติดต่อที่ไกลขึ้น แต่ด้วยความถี่ต่ำทำให้ขนาดของสายอากาศใหญ่โตจนอาจจะเกิดปัญหากับการติดตั้งได้ แต่เราก็สามารถทำให้มันสั้นลงได้เช่นกัน <อ่านต่อ>un-un 9:1
ในงานวิทยุความถี่สูง (HF) มีสายอากาศจำนวนมากให้เราเลือกใช้งาน หลายอย่างเราสามารถปรับเปลี่ยน แปลง อิมพิแดนซ์ของมันได้ ในขณะคราวเดียวกันก็อาจจต้องการระมัดระวังเรื่องกระแสส่วนเกินที่ไม่ต้องการ (ที่เรีกว่า common mode current) ลองดูกันว่าหนึ่งในอุปกรณ์ดังกล่าวที่เรียกว่า un-un แบบ 9:1 นั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไร <อ่านต่อ>ทำไมทริมสายนำสัญญาณแล้ว VSWR เปลี่ยนได้
ตามหลักการทำงานของสายนำสัญญาณจริงๆ แล้ว ความสั้นหรือยาวของสายนำสัญญาณจะไม่ทำให้ค่าอัตราส่วนคลื่นนิ่งหรือ VSWR เปลี่ยนไป แต่หลายครั้งที่นักวิทยุสมัครเล่นลองตัดหรือทริม (trim) สายนำสัญญาณแล้วทำให้ค่าของ VSWR เปลี่ยนได้ ทำให้มีการพยายามตัดสายนำสัญญาณด้านเครื่องส่งเพื่อทำให้ค่า VSWR ต่ำที่สุด จนกลายเป็นความเชื่อว่าความสั้นหรือยาวของสายนำสัญญาณทำให้ค่าอัตราส่วนคลื่นนิ่งหรือ VSWR เปลี่ยนได้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น <อ่านต่อ> บาลัน (balun) และการเลือกใช้
นักวิทยุจำนวนมากอาจจะเคยได้ยินคำว่า บาลัน มาบ้างแล้ว แต่หลายคนอาจจะยังสงสัยว่ามันคืออะไร ทำหน้าที่อะไร ต้องมีหรือไม่ และเลือกใช้อย่างไร เรื่องราวในบทความนี้อาจจะทำให้เพื่อนๆ เข้าใจมันดีขึ้นก็ได้ <อ่านต่อ> สายอากาศต้องเรโซแนนซ์หรือไม่
เรามักเคยได้ยินคำว่า เรโซแนนซ์ กันอยู่บ่อยๆ หลายท่านอาจจะเข้าใจลึกซึ้งในขณะที่หลายท่านอาจจะยังเข้าใจไม่ทั้งหมด ยิ่งมาพูดถึงว่าสายอากาศนั้นเรโซแนนซ์หรือไม่แล้วยิ่งสับสันไปกันใหญ่ จนมีคำถามว่าตกลงสายอากาศต้องเรโซแนนซ์หรือไม่ และถ้าไม่เรโซแนนซ์แสดงว่าไม่ดีใช้การไม่ได้เรื่องจริงหรือเปล่า ลองดูกันให้หายสงสัยดีกว่าครับ <อ่านต่อ>59/+60 dB จริงหรือ
แทบทุกครั้งที่มีการติดต่อสื่อสารทางวิทยุของเหล่านักวิทยุสมัครเล่น มักมีการรายงานสัญญาณที่รับได้ (เรียกว่า "Report สัญญาณ" และหลายครั้งมีการรายงานความแรงสัญญาณที่เกิน S-meter 9 ไป เราเคยสงสัยกันหรือไม่ว่ามันคืออะไร และสิ่งที่รายงานนั้นเป็นจริงหรือไม่ <อ่านต่อ>
ที่มาของคำว่า 73 และ 88
นักวิทยุทุกคนต้องรู้จักตัวเลขมหัศจรรย์สองตัวนี้ และแน่นอนว่ารู้ความหมายว่าคือ ด้วยความปรารถนาดี และ ด้วยรักและคิดถึง (จุ้บๆ ด้วยไหมก็แล้วแต่สถานการณ์) แต่ที่มาที่ไปล่ะ เป็นมาอย่างไร มาดูกันสักนิดดีกว่าครับ <อ่านต่อ>
ชั้นบรรยากาศของโลกกับการเดินทางของคลื่นวิทยุ
การสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุนั้นมีธรรมชาติของมันเอง ความถี่วิทยุก็มีคุณสมบัติและความประพฤติต่างกันไปตามความถี่นั้นๆ และเมื่อมันต้องเดินทางไปในชั้นบรรยากาศต่างๆ ของโลก คุณสมบัติของมันจึงทำให้ระยะทางที่สามารถติดต่อสื่อสารได้เปลี่ยนแปลงไป <อ่านต่อ>สายนำสัญญาณแบบเปิด
สายนำสัญญาณมีหลายรูปแบบมาก นอกจากที่เราคุ้นเคยกันที่เป็นสายนำสัญญาณแบบแกนร่วม (Coaxial) แล้ว ก็มีสายนำสัญญาณแบบเปิด (Open-Wire) อีก สายนำสัญญาณแบบเปิดอาจจะติดตั้งยากสักนิดแต่ก็มีข้อดีอยู่หลายอย่างในตัวชนิดที่นำมาใช้งานได้ผลดีทีเดียว <อ่านต่อ>
VSWR ที่แท้จริงกับการสูญเสียที่เกิดขึ้น
เมื่อเราต่อสายนำสัญญาณยาวๆ จากสายอากาศลงมายังเครื่องรับ-ส่งวิทยุที่อยู่ไกลออกไป เราก็จะทำการตรวจวัดค่า vswr ตามปกติที่ปลายสายนำสัญญาณก่อนจะต่อเข้ากับเครื่องวิทยุสื่อสาร แต่สิ่งที่เราวัดได้กับสิ่งที่เป็นจริงที่สายอากาศนั้นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร และมีผลกับการสูญเสียอะไรแค่ไหนล่ะ <อ่านต่อ>
การสูญเสียกำลังในสายนำสัญญาณกับค่า VSWR
หลายครั้งที่เพื่อนพูดถึงการที่ระบบสายอากาศมีค่า VSWR สูง แล้วทำให้เกิดผลเสีย แต่เราก็ไม่ค่อยเข้าใจเต็มที่ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ เพราะมักได้ยินเพียงว่าอาจจะทำให้เครื่องส่งวิทยุเสียหายได้ เกิดการรบกวนได้ง่าย ทำให้สายนำสัญญาณร้อนบ้าง มาดูกันดีกว่าว่าสิ่งที่เกิดขึ้นที่ทำให้เกิดการสูญเสียมากกว่าปกติเป็นเพราะอะไร <อ่านต่อ>
อธิบาย VSWR ด้วยตัวอย่าง
เรื่องของ VSWR บางครั้งก็ดูเป็นเรื่องลึกลับซับซ้อนอันดับต้นๆ ของนักวิทยุสมัครเล่น บางครั้งเมื่อเล่ากันไปมาแล้วจึงกลายเป็นสิ่งพิสดารเกินความเข้าใจได้ ทั้งที่จริงแล้วเข้าใจได้ไม่ยาก นอกจากการคำนวณที่ซับซ้อนแล้ว อันที่จริงเราสามารถยกตัวอย่างเป็นตัวเลขและให้เห็นภาพได้ง่ายๆ ด้วยซ้ำไป <อ่านต่อ>
แพทเทิร์นของสายอากาศโพลาไรเซชั่นแนวนอนที่ความสูงต่างๆ
สายอากาศของวิทยุสมัครเล่นในย่านความถี่ HF มักจะอยู่ในแแนวนอน ทั้งนี้เพราะความสะดวกในการติดตั้งเนื่องจากความใหญ่โตของมัน นอกจากนั้นยังได้ใช้ประโยชน์จากการสะท้อนคลื่นจากพื้นที่อยู่รอบๆ สายอากาศด้วย ทำให้รูแบบการแพร่กระจายคลื่นต่างไปจากเดิมและช่วยการแพร่กระจายคลื่นได้ <อ่านต่อ>
การใช้สมิทชาร์ทในการแมทช์อิมพิแดนซ์
สมิทชาร์ทถือว่าเป็นเครื่องมือทรงพลังมากในการแมทช์อิมพิแดนซ์ต่างๆ ให้กับเรา ลองดูว่าเราใช้งานมันอย่างไร พร้อมกับตัวอย่างในการคำนวณในเรื่องนี้ครับ <อ่านต่อ>
zy-chart คืออะไร
เรารู้จักสสมิทชาร์ทกันไปแล้วและรู้ว่ามีประโยชน์มากมาย zy-chart เป็นการต่อยอดสมิทชาร์ทมาตรฐานที่เแสดง z-plane บน Γ-plane โดยเพิ่ม y-plane ลงไปด้วย จะมีประโยชน์ในเการช่วยเราแมทช์อิมพิแดนซ์ต่างๆ แต่ก่อนหน้านั้นเราควรต้องรู้ก่อนว่ามันมีที่มาอย่างไร และหมายถึงอะไร จะได้ใช้งานได้อย่างถ่องแท้จริงๆ <อ่านต่อ>
การใช้งานสมิทชาร์ท
หลังจากที่รู้ ที่มาของ Smith Chart กันไปแล้ว คราวนี้เราเริ่มมาดูกันว่ามันใช้ทำอะไรได้บ้าง เป็นบทความที่เขียนให้ละเอียดพอที่เพื่อนๆ จะเข้าใจได้ มีการคำนวณตามความจำเป็น และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย <อ่านต่อ>
ที่มาของ Smith Chart
เห็นแต่คนเขาพูดกัน และรู้นะว่ามีประโยชน์ แต่จะเอามาใช้ก็ไม่เป็น ซ้ำร้ายกว่านั้นยังไม่รู้เลยว่ามันคืออะไรและมีที่มาที่ไปอย่างไร บทความเรื่องนี้จะเล่าให้ฟังแบบง่ายๆ ว่าสมิทชาร์ที่โด่งดังนั้นเป็นมาอย่างไร ก่อนที่จะนำมันไปใช้งานในตอนต่อๆ ไป <อ่านต่อ>
ความต้านทานที่เปลี่ยนไปตามสายนำสัญญาณ
จากบทความคราวที่แล้ว ที่เราคุยกันเรื่อง ทฤษฎีสายนำสัญญาณ และได้เขียนสูตรการคำนวณเอาไว้คร่าวๆ มาคราวนี้เรามาทดลองคำนวณกันดูจริงๆ บ้างดีกว่าว่าถ้าเราต่อโหลดเข้ากับปลายของสายนำสัญญาณเส้นหนึ่งแล้ว จะเห็นอิมพิแดนซ์ที่ปลายสายอีกข้างหนึ่งเป็นเท่าไร <อ่านต่อ>
ทฤษฏีสายนำสัญญาณ
สายเส้นเล็กๆ หรืออาจจะใหญ่สักหน่อยแต่ก็ไม่ใหญ่ไปกว่าท่อน้ำได้เท่าไรนัก ที่เราใช้กันอยู่และเรียกว่า "สายนำสัญญาณ" ที่ทำหน้าที่พาเอาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าวิ่งไปมาจากเครื่องส่งวิทยุไปยังสายอากาศ หรือจากสายอากาศกลับมายังเครื่องรับวิทยุ มีทฤษฎีเบื้องหลังมากมาย เหตุเพราะสิ่งที่วิ่งในนั้นเป็นคลื่นที่ทบกันหลายลูกคลื่นแทนที่จะเป็นไฟฟ้ากระแสที่สม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น จึงต้องมีทฤษฎีอธิบายโดยเฉพาะ <อ่านต่อ>
สายอากาศไดโพลทำงานอย่างไร
สายอากาศโฟลเด็ดไดโพล พัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของสายอากาศไดโพล
สายอากาศแบบไดโพลเป็นสายอากาศพื้นฐานที่สุด (ที่จริง แค่เอาสายนำสัญญาณแบบสายคู่มาฉีกปลายออกก็เป็นสายอากาศไดโพลแล้ว) เราสามารถเอามาต่อพ่วงกัน หรือแม้แต่ทำให้ยาวขึ้นแล้วต่อร่วมกัน หรือทำเป็นแบบวงรอบแล้วยืดออกก็กลายเป็นสายอากาศแบบลูปได้ แต่สายอากาศไดโพลเองทำงานอย่างไร มากันใน "สายอากาศไดโพลทำงานอย่างไร" ได้เลยครับ <อ่านต่อ>
สายอากาศแบบ Phased Array
แทบจะพูดได้ว่ามีหลักการเดียวที่เราจะทำให้สายอากาศมีอัตราขยายสูงขึ้นได้คือการนำมาต่อกันแบบ phased array เพราะไม่ว่าจะเป็นสายอากาศหลายชั้น สายอากาศแบบยากิ-อูดะ สายอากาศที่เอามาสแต็กกัน จะว่าไปก็เป็นการจับมาอาเรย์ (array) กันแล้วป้อนด้วยสัญญาณที่มีเฟสที่เราได้ออกแบบเอาไว้ทั้งสิ้น มาดูหลักการของสายอากาศแบบนี้กันดีกว่า <อ่านต่อ>
เล่าเรื่องสายอากาศแบบ Loop
เราคงเคยเห็นสายอากาศว่ามีหลายแบบหลายประเภท และหนึ่งในนั้นคือสายอากาศแบบลูปปิด เรามาดูกันดีกว่าว่ามันมีคุณสมบัติทืี่แตกต่างจากสายอากาศแบบธรรมดาอย่างไรบ้าง <อ่านต่อ>
ประวัติของสายนำสัญญาณแบบแกนร่วม (Coaxial Cable)
กว่าจะมีวันนี้ สายนำสัญญาณที่เห็นนี่ก็ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านการแก้ไขมาหลายครั้ง จนได้สายนำสัญญาณแบบแกนร่วมหรือ coaxial cable ที่เราเห็นใช้งานกันทั้งในระบบสื่อสารและระบบรับอย่างเดียว (broadcast) ดูที่มาของมันกันดีกว่าครับ (ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก qrz.com) <อ่านต่อ>
การแมทชิ่งทำอย่างไร
เมื่อพูดถึงการแมทช์ ที่บางทีฟังเป็นเรื่องยากสำหรับนักวิทยุสมัครเล่นอย่างพวกเรา แต่ที่จริงแล้วการแมทช์นั้นมีหลายวิธีมาก นอกจากนั้นยังใช้แบบลูกผสมกันได้อีก แต่ก่อนจะพลิกแพลงมากเรามาดูวิธีการหลักๆ กันก่อนว่ามีอะไรบ้างดีกว่า <อ่านต่อ>
การแมทช์คืออะไร
ตั้งแต่เป็นนักวิทยุสมัครเล่นมา ก็วุ่นวายได้ยินกับคำว่าแมทช์ ไม่แมทช์อยู่ตลอดเวลา จนบางทีกลายเป็นคำศักดิ์สิทธิไปแล้วว่าถ้าไม่แมทช์จะทำให้เกิดสิ่งผิดปกติจนถึงขั้นภัยพิบัติกันไปเลย (ที่จริงก็ไม่ได้ขนาดนั้นหรอก) เอาเป็นว่ามาดูกันก่อนดีกว่าว่าที่จริงแล้วการแมทช์คืออะไรกันแน่ <อ่านต่อ>
ความต้านทานจำเพาะของสายนำสัญญาณคืออะไร
เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า เวลาเราไปซื้อสายนำสัญญาณต่างๆ ทีร้านอุปกรณ์สื่อสาร เรามักจะต้องบอกว่าเป็นสายขนาดกี่โอห์ม เช่น 50 หรือ 75 โอห์มเป็นต้น แต่เมื่ออยากจะรู้ว่ามันเป็น 50 หรือ 75 โอห์มจริงหรือไม่เรากลับไม่สามารถนำมิเตอร์ไปวัดมันได้ ก็เพราะมันเป็น "ความต้านทานจำเพาะ" ทางความถี่สูงของสายนำสัญญาณและไม่สามารถวัดได้ด้วยโอห์มมิเตอร์แบบกระแสตรงนั่นเอง แล้วความต้านทานจำเพาะนี้มีที่มาที่ไปอย่างไรล่ะ มาดูกันในบทความนี้ดีกว่า <อ่านต่อ>
มารู้จักอิมพิแดนซ์กันเถอะ
ในความถี่สูง อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีความเก็บประจุทางไฟฟ้าและตัวเหนี่ยวนำ จะเริ่มมีผลต่อการนำกระแส รวมมทั้งเกิดการนำหรือตามที่ต่างกันของเฟสของศักดาไฟฟ้าและกระแสที่ไหลผ่านอุปกรณ์และวงจรด้วย สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดตัวแปรหรือพารามิเตอร์ที่สำคัญหนึ่งขึ้นคือ อิมพิแดนซ์ แล้วมันคืออะไร บทความนี้จะทำให้เพื่อนๆ เข้าใจได้ง่ายขึ้น <อ่านต่อ>
ช่วงความถี่ของวิทยุสมัครเล่น (Amateur Radio Band Plan)
ในโลกสำหรับนักวิทยุสมัครเล่นแล้ว มีความถี่อีกจำนวนมากมายที่เราสามารถใช้ได้ แต่ก็ต้องการการได้รับอนุญาตที่อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ลองดูกันก่อนว่านอกจากความถี่ 144-146 MHz สำหรับขั้นต้นแล้ว เราจะใช้ความถี่ใดได้อีก <อ่านต่อ>
ทฤษฎีไฟฟ้าสำหรับผู้เตรียมตัวสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
สำหรับผู้สนใจในกิจการวิทยุสมัครเล่น และต้องการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นแล้ว จะต้องผ่านการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นเสียก่อน ซึ่งการสอบประกอบไปด้วยหลายวิชา เช่น กฏหมายเกี่ยวกับวิทยุโทรคมนาคม หลักการสื่อสาร จริยธรรมในการติดต่อสื่อสาร และทฤษฎีไฟฟ้า เราได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีไฟฟ้าที่สำคัญไว้ในเรื่องนี้ <อ่านต่อ>
ผลของชั้นบรรยากาศต่อการสื่อสารย่าน HF
ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้นโลกเรามีผลต่อการเดินทางของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในย่าน HF (High Frequency) ทำให้การติดต่อไปได้ไกลกว่าปกติ มาดูกันว่าเป็นเพราะอะไร <อ่านต่อ>