นักวิทยุสมัครเล่น แทบทุกคนคงจะคุ้นเคยกับตัวเลขมหัศจรรย์ซึ่งเรามักใช้ในการลงท้ายการสนทนาโดยมีความหมายว่า "ด้วยความปรารถนาดี" ซึ่งตรงกับคำภาษาอังกฤษก็คือ Best regards คือตัวเลข 73 และ 88 โดยตัวเลขตัวแรกนั้นใช้กันทั่วไปในขณะที่ตัวเลขที่สองใช้กับเพศตรงข้ามที่มีความสนิทสนมเป็นพิเศษ นักวิทยุสมัครเล่นหลายคนก็ลงท้ายการสนทนาโดยตัวเลขทั้งสองนี้มาเป็นเวลานานหลายสิบปีแต่ก็อาจจะไม่รู้ที่มาที่ไปว่าทำไมต้องเป็นตัวเลขสองตัวนี้ ทำไมเป็นตัวเลขอื่นไม่ได้หรือ
ผมเลยทดลองไปค้นข้อมูลก็ได้ที่มาที่ไปของตัวเลขทั้งสองย้อนไปเมื่อสมัยที่เรายังมีการส่งข้อความด้วยระบบโทรเลขซึ่งในสมัยนั้นก็ต้องใช้รหัสมอร์สในการส่ง และโดยทั่วไปแล้วข้อความที่เราส่งถึงกันโดยทั่วไปก็มักจะมีข้อความซ้ำๆ มีวลีที่ใช้เป็นประจำอยู่เสมอ จึงมีการคิดค้นวิธีการที่จะย่อคำเหล่านั้นให้สั้นลงแทนที่จะต้องส่งรหัสมอร์สยาวๆ ซ้ำๆ กันโดยเปลี่ยนเป็นตัวเลขเสีย โดยผู้ที่คิดค้นก็คือคุณฟิลิป (Walter P. Phillips) ในปี 1879 (ก่อนหน้านั้นก็อาจจะมีการประชุม เสวนา ของบรรดาผู้ส่ง/รับโทรเลขกันมาก่อนหน้า) ที่สรุปและสร้างตารางตั้งแต่ตัวเลข 1 ไปเรื่อย (ส่วนจะไล่เรียงครบทุกตัวเลขโดยไม่โดดข้ามหรือไม่ หรือไปถึงเลขเท่าใดนั้นไม่มีข้อมูลแน่ชัด) และกำหนดให้ตัวเลขแต่ละตัวนี้แทนวลีที่ใช้ซ้ำกันบ่อยๆ
ตัวเลขเหล่านั้นคือ
1 Wait a moment
2 Important Business
3 What time is it?
4 Where shall I go ahead?
5 Have you business for me?
6 I am ready
7 Are you ready?
8 Close your key; circuit is busy
9 Close your key for priorit business (Wire chief, dispatcher, etc)
10 Keep this circuit closed
12 Do you understand?
13 I understand
14 What is the weather?
15 For you and other to copy
17 Lightning here
18 What is the trouble?
19 Form 19 train order
21 Stop for a meal
22 Wire test
23 All copy
24 Repeat this back
25 Busy on another wire
26 Put on ground wire
27 Priority, very important
28 Do you get my writing?
29 Private, deliver in sealed envelope
30 No more (end)
31 Form 31 train order
32 I understand that I am to ...
33 Car report (Also, answer is paid for)
34 Message for all officers
35 You may use my signal to answer this
37 Diversion (Also, inform all interested)
39 Important, with priority on thru wire (Also, sleep-car report)
44 Answer promptly by wire
73 Best regards
88 Love and kisses
91 Superintendant's signal
92 Deliver promptly
93 Vice President and General Manager's signals
95 President's signal
134 Who is at the key?
เราก็จะเห็นว่าตัวเลข 73 และ 88 ก็อยู่ในตารางดังกล่าวนี้ด้วย นอกจากนี้บทความในวารสาร QST ฉบับ เมษายน ค.ศ. 1935 หน้า 60 โดยอ้างถึงวารสารของ Navy Department Office of the Chief of Naval Operations ที่ตีพิมพ์ในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 1934 ก็ได้เขียนเรื่องนี้ไว้ในทำนองเดียวกัน หลังจากที่หมดยุคของการส่งโทรเลขแล้ว ก็คงมีนักวิทยุสมัครเล่นเท่านั้นที่ก็ยังคงใช้รหัส 73 และ 88 อยู่ทุกวันนี้ (อาจจะเป็นเพราะยังมีนักวิทยุจำนวนมากที่ใช้รหัสมอร์สในการติดต่อสื่อสารอยู่ก็ได้)
เมื่อเพื่อนๆ ทราบประวัติความเป็นมาแล้วก็คงจะหายสงสัยนะครับว่า ทำไมเราจึงลงท้ายการสนทนาวิทยุเล่นด้วยตัวเลขมหัศจรรย์ 73 และ 88 สองตัวนี้
สำหรับวันนี้คงหมดข้อความเล่าให้ฟังเพียงเท่านี้ก่อน ไว้พบกันใหม่ในเรื่องต่อไปนะครับ
QRU 73 de HS0DJU / KG5BEJ จิตรยุทธ จุณณะภาต
อ้างอิง:
https://en.wikipedia.org/wiki/Phillips_Code
http://ham.stackexchange.com/questions/345/why-do-hams-often-conclude-messages-with-73
http://www.signalharbor.com/73.html
http://www.theatlantic.com/technology/archive/2014/01/88-or-how-telegraphers-coded-love-and-kisses/282850/