นานาวิชาการ

รวมวิชาการและสาระน่ารู้เกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่นเอาไว้ เพื่อให้เพื่อนๆ ได้ศึกษาและนำไปใช้งานได้ต่อไป


ข้อควรระวังในการจับยึดสายอากาศ

การติดตั้งสายอากาศที่ไม่ว่าเราทำขึ้นมาเองหรือซื้อมาก็ตาม ต้องระวังโลหะที่อยู่ใกล้ๆ มัน เพราะล้วนมีผลต่อการทำงานของสายอากาศ ลองดูว่าโลหะแปลกปลอมอื่นที่ว่านั้น แบบไหนที่ส่งผลกับสายอากาศของเราอย่างไรบ้าง <อ่านต่อ>


ทำไมอัตราสูญเสียกำลังในสายนำสัญญาณจึงบอกเป็น dB/ความยาว


สายนำสัญญาณที่เราใช้กันในย่านความถี่สูงจะมีการสูญเสียกำลังเกิดขึ้น ยิ่งความถี่สูงมากขึ้น สายยาวขึ้น การสูญเสียนี้จะมากขึ้น และการบอกอัตราการสูญเสียกำลังของคลื่นมักบอกเป็น dB ต่อหน่วยความยาวเสมอ ทำไมต้องเป็นแบบนั้นด้วย บอกธรรมดาๆ ไม่ได้หรือ เรื่องนี้มีคำตอบ <อ่านต่อ>


SWR meter ทำงานอย่างไร


เครื่องมือของนักวิทยุสมัครเล่นอย่างแรกๆ ถ้าไม่นับเครื่องวิทยุ สายอากาศ สายนำสัญญาณ มัลติมิเตอร์ แล้ว ก็คงเป็น SWR meter นี่แหละ มาดูกันว่ามันทำงานอย่างไรดีกว่าครับ <อ่านต่อ>


ความเร็วของอิเล็กตรอนและการส่งพลังงานในวงจรไฟฟ้า


เรารู้กันมาตลอดว่าไฟฟ้านั้นเดินทางได้เร็วมาก แล้วอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ในเส้นลวดตัวนำล่ะเคลื่อนที่เร็วแค่ไหน รวมไปถึงการส่งผ่านพลังงานเกิดอย่างไรและด้วยความเร็วเท่าไร รับรองว่าเรื่องนี้น่าสนใจและขัดความรู้สึกโดยทั่วไปแบบสุดๆ ลองอ่านดูนะครับ <อ่านต่อ>


ว่าด้วยแพทเทิร์นของสายอากาศไดโพล


เชื่อว่าเพื่อนๆ นักวิทยุสมัครเล่นแทบทุกคนต้องคุ้นเคยกับรูปภาพของแพทเทิร์นการแพร่กระจายคลื่นของสายอากาศไดโพล ว่าคล้ายโดนัทที่ไม่มีรูตรงกลาง แล้วเหตุผลที่เป็นแบบนั้นล่ะเราเคยทราบหรือไม่ ลองดูที่มาของเจ้าโดนัทไร้รูที่ว่านี้กันดีกว่า <อ่านต่อ>


จะทำสายอากาศโฟลเด็ดไดโพล 1 ห่วงได้ไหมและอย่างไร


ถ้าไม่นับสายอากาศแบบไดโพลแล้ว สายอากาศแบบโฟลเด็ดไดโพลถือว่าเป็นสายอากาศพื้นฐานชนิดหนึ่งที่เราคุ้นเคยก็ว่าได้ แต่อิมพิแดนซ์ของมันสูงกว่าสายอากาศไดโพลอยู่หลายเท่า (4 เท่าตัว) ทำให้การต่อเข้าสายนำสัญญาณทำได้ไม่ดี  ถ้าเรามีสายอากาสโฟลเด็ดไดโพลเพียง 1 ห่วง เราจะใช้งานมันอย่างไร <อ่านต่อ>


ชำแหละสายอากาศแบบ ZL


เพื่อนๆ คงเคยใช้สายอากาศมาหลายชนิด หนึ่งในนั้นที่ผ่านตาอาจจะเป็น ยากิ-อูดะ ที่หน้าตาคล้ายก้างปลา แต่มีสายอากาศชนิดหนึ่งที่หน้าตาคล้ายกันแต่หลักการทำงานต่างออกไปบ้างคือสายอากาศแบบ ZL ที่มีการป้อนสัญญาณเข้าที่อีลีเมนท์ทั้งสองของมัน มาดูกันว่ามันทำงานอย่างไรในบทความนี้ <อ่านต่อ>


การอนุกรมและขนานสายนำสัญญาณ

ในบางครั้งเราอาจต้องการสายนำสัญญาณที่มีความต้านทานจำเพาะ (characteristic impedance) ค่าอื่นที่ไม่ใช่ 50 หรือ 75 โอห์มของสายนำสัญญาณแบบ RG58, RG59 ที่เราหาได้ทั่วไป เราสามารถนำสายนำสัญญาณมาต่ออนุกรมหรือขนานกันเพื่อให้ได้ความต้านทานจำเพาะค่าอื่นที่เราอาจจะต้องการ บทความนี้เล่าเรื่องนี้ให้ฟังอย่างละเอียดถึงที่มาของความต้านทานจำเพาะที่เปลี่ยนไปด้วย ติดตามกันได้นะครับ <อ่านต่อ> 


ควอเตอร์เวฟสตับแมทช์สายอากาศสลิมจิมได้อย่างไร


สายอากาศตระกูลสลิมจิม คือทั้งสลิมจิมเองและเจโพล น่าสนใจที่เราสามารถแมทช์มันได้ค่อนข้างง่ายด้วยควอเตอร์เวฟสตับ แต่น้อยคนมากจะเข้าใจจริงๆ ว่าควอเตอร์เวฟสตับความยาว ¼λ ที่อยู่ด้านล่างนั้นทำงานอย่างไร ลองดูรายละเอียดที่หาอ่านที่ไหนไม่ได้กันดีกว่า  <อ่านต่อ>


พื้นดินกับ RF ground และความถี่ย่าน HF

สายอากาศแต่ละชนิดมีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน ต้องการกราวด์ไม่เท่ากัน และเมื่อความถี่ที่ใช้ไม่เท่ากันโดยเฉพาะย่าน HF ที่ความยาวคลื่นยาว ทำให้พื้นดินมีผลกับสายอากาศบางชนิดมาก มีผลอย่างไร แก้ไขอย่างไร <อ่านต่อ>


คุยกันเรื่องสายอากาศแบบแกมม่าแมทช์


การแมทช์สายอากาศนั้นโดยทั่วไปคือการพยายามทำให้อิมพิแดนซ์ที่จุดป้อนหรือที่เราเอาสายนำสัญญาณมาเชื่อมต่อให้ใกล้เคียงกับอิมพิแดนซ์จำเพาะของสายนำสัญญาณให้มากที่สุด (ปกติแล้วนักวิทยุสมัครเล่นของเราจะใช้ระบบที่เป็น 50Ω  นั่นเอง เทคนิคการแมทช์มีหลากหลาย และหนึ่งในนั้นคือ แกมมาแมทช์ และมีทั้งข้อดีและข้อเสียเช่นเดียวกับการแมทช์ด้วยเทคนิคอื่น มาลองดูกันครับว่ามันคืออะไร ทำงานอย่างไร <อ่านต่อ>


ทำความรู้จักกับ Guanella Balun กันหน่อย


บาลัน (Balun) โดยทั่วไปเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อเชื่อมระหว่างระบบแบบ Balanced กับแบบ Unbalanced เข้าด้วยกัน หน้าที่หลักคือพยายามลดกระแสโหมดร่วมที่เกิดจากโหลดที่ไม่สมดุล (common mode current) ลง  บาลันเองมีหลายชนิดทั้งแบบ Voltage และ Current โดยที่ Guanella Balun จัดว่าเป็นแบบ current balun นอกจากนั้นยังจัดเป็น Transmission Line Transformer ด้วย ซึ่งตรงนี้เองทำให้มี bandwidth กว้างและการสูญเสีย (Loss) ต่ำ ลองดูกันครับว่ามันมีโครงสร้างอย่างไรและทำงานอย่างไร <อ่านต่อ>


การจูนสายอากาศ เรื่องจริงหรือหลอกลวง


อุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งในระบบวิทยุสื่อสารคือ เครื่องจูนสายอากาศ (Antenna Tuner) เพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นหลายท่านอาจจะสงสัยว่ามันคืออะไร ทำอะไร และสิ่งที่มันทำนั้นเป็นจริงหรือไม่ มีผลกับการใช้งานจริงๆ หรือเพียงหลอกลวงภาคส่งของเครื่องวิทยุสื่อสารเท่านั้น บทความนี้คงทำให้เข้าใจได้ดีขึ้นครับ <อ่านต่อ>


ดวงอาทิตย์กับการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ


การสื่อสารในย่านความถี่ HF นั้นอาศัยการสะท้อนของคลื่นจากชั้นบรรยากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชั้น F แต่คุณสมบัติของบรรยากาศชั้นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นห่างไกลจากโลกเรามากมายก็คือบนดวงอาทิตย์นั่นเอง <อ่านต่อ>


ความต้านทานของสายอากาศมีที่มาอย่างไร


นักวิทยุสมัครเล่นคงคุ้นเคยกับคำว่าความต้านทานของสายอากาศกันเป็นอย่างดี และยังรู้ด้วยว่าไม่สามารถวัดได้ด้วยโอห์มมิเตอร์ธรรมดา แต่แท้ที่จริงแล้วเรารู้หรือไม่ว่ามันคืออะไร มันเป็นตัวแทนของอะไร มีที่มาอย่างไร มาหาคำตอบง่ายๆ กันดีกว่า <อ่านต่อ>


S meter ของวิทยุย่าน HF และ VHF เหมือนกันหรือไม่

เพื่อนๆ นักวิทยุสมัครเล่นทุกคนคงรู้จักมาตรวัดความแรงของสัญญาณที่เรียกว่า S meter กันดี แต่เคยมีใครสงสัยไหมครับว่า S meter ของภาครับของเครื่องวิทยุแบนด์ต่างๆ (เช่น HF และ VHF) นั้น เหมือนกันหรือไม่ <อ่านต่อ> 


การติดตั้ง DVSwitch (ตอนที่ 2)

หลังจากที่เราได้แนะนำเกี่ยวกับโปรแกรม DVSwitch กันไปในตอนที่ 1 แล้ว คราวนี้เรามาลองติดตั้งโปรแกรมนี้ให้ทำงานได้จริงๆ กันนะครับ <อ่านต่อ> 


ทำบาลันไว้ใช้กันดีกว่า


บาลัน มีไว้เพื่อต่อเชื่อมระบบที่เป็นแบบสมดุล (Balance) กับไม่สมดุล (Unbalance) เข้าด้วยกัน ที่จริงมีหลายแบบหลายหลักการ เรายกตัวอย่างบาลันแบบโวลเตจที่สร้างจากสายนำสัญญาณแบบโคแอกเชียล ดูว่ามันทำงานอย่างไร และลองสร้างกันครับ <อ่านต่อ>


แนะนำโปรแกรม DVSwitch (ตอนที่ 1)


ระบบวิทยุแบบดิจิตอลเริ่มเข้ามามีบทบาทในวงการวิทยุสมัครเล่นมากขึ้น เพราะนอกจากให้คุณภาพเสียงที่ชัดเจนแล้ว ยังสามารถต่อเชื่อมเข้ากับโครงข่ายดิจิตอลอื่นได้ง่าย นั่นรวมถึงอินเทอร์เน็ตด้วย ทำให้การสื่อสารเป็นไปได้ทั่วโลก อย่างไรก็ตามบางครั้งเครื่องวิทยุระบบดิจิตอลเองมีราคาสูงหรืออาจจะไม่สะดวกในการใช้งานในบางลักษณะ จึงมีนักวิทยุสมัครเล่นบางท่านหาวิธีต่อเชื่อมเข้าโครงข่ายโดยใช้อุปกรณ์ประเภทคอมพิวเตอร์แทน <อ่านต่อ>


Long Path คืออะไร


ในหลายสภาวการณ์คลื่นวิทยุความถี่ย่าน HF สามารถเดินทางได้รอบโลก หรือยิ่งกว่านั้นอาจจะวนอ้อมกลับมาที่เดิมได้ด้วย ในการติดต่อระยะทางไกลบางครั้งเราอาจเลือกให้คลื่นเดินทางในทิศทางอ้อมโลก (ทิศที่ไกลกว่า - Long Path) ไปหาคู่สถานีก็ได้ มาดูกันว่าทำไมเราทำแบบนั้น <อ่านต่อ>


Grey Line คืออะไร


คลื่นวิทยุในย่านความถี่ HF (3-30MHz) มีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถ (ดูเหมือนว่า) สะท้อนกลับจากชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกไว้ได้ ชั้นบรรยากาศนี้เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลาของวัน และในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างกลางวันและกลางคืน (เรียกว่า Grey Line) คุณสมบัติของชั้นบรรยากาศอาจจะมีลักษณะพิเศษที่เอื้ออำนวยต่อการเดินทางของคลื่นในย่านความถี่ HF และทำให้ติดต่อได้ไกลขึ้น <อ่านต่อ>


Common mode choke คืออะไรและทำงานอย่างไร


สัญญาณรบกวน (noise) หลายชนิดเป็นสัญญาณแบบ common mode ในขณะที่สัญญาณที่เราต้องการ (signal) เป็นสัญญาณแบบ differential mode ด้วยความแตกต่างนี้เราจึงสามารถสร้างอุปกรณ์แบบพาสซีฟ (ไม่ใช้ไฟเลี้ยง) ในการกรองสัญญาณรบกวนแบบ common mode ออกไปได้ มารู้จักการทำงานของอุปกรณ์นี้กันครับ <อ่านต่อ>


Ferrite กับการลดสัญญาณรบกวน EMI



สัญญาณรบกวนเป็นปัญหาสำคัญหนึ่งในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ สัญญาณรบกวนบางชนิดอยู่ในช่วงความถี่ย่านวิทยุที่แพร่กระจายไปมาได้ทางอากาศ (จึงเรียกว่า Electromagnetic Interference หรือ EMI) อุปกรณ์เล็กๆ หนึ่งที่มีประสิทธิภาพดีในการกำจัดสัญญาณรบกวนนี้คือเฟอร์ไร้ท์ (ferrite) แต่มันทำงานอย่างไร แล้วเราจะเลือกชนิดของเฟอร์ไร้ท์อย่างไร อ่านเพิ่มเติมได้ในเรื่องนี้ <อ่านต่อ>


สายนำสัญญาณแบบ Ladder Line


สายนำสัญญาณมีหน้าที่นำคลื่นความถี่สูงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งโดยมีความสูญเสียน้อยที่สุด และสามารถรู้และควบคุมค่าอัตราส่วนคลื่นนิ่งในสายนำสัญญาณ (SWR) นั้นได้ สายนำสัญญาณมีหลายชนิดมากและหนึ่งในนั้นคือแบบ Ladder Line หรือ Open Line <อ่านต่อ>


มุมยิงของสายอากาศในแนวระดับ

สายอากาศแพร่กระจายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกรอบๆ ตัวมัน และไม่มีสายอากาศใดในโลก (ที่สร้างได้จริง) ที่แพร่กระจายคลื่นไปในทุกทิศทางในสามมิติเท่าๆ กัน (มีสายอากาศสมมติที่เรียกว่า isotropic antenna ที่มีคุณสมบัตินั้น แต่ก็ไม่สามารถสร้างขึ้นได้จริงๆ)  บางครั้งมุมยิงนี่เองที่ทำให้ผลการใช้งานต่างกันมาก <อ่านต่อ>


สายอากาศแบบ Traveling Wave คืออะไร

สายอากาศที่เราสามารถใช้งานได้มีหลายรูปแบบมาก แต่ที่เราคุ้นเคยกันมักเป็นสายอากาศแบบเรโซแนนซ์ เพราะมีขนาดเล็ก สร้างง่าย เคลื่อนย้ายได้ง่าย แต่ยังมีสายอากาศอีกหลายแบบมากที่เราสามารถออกแบบและใช้งานได้ หนึ่งในนั้นคือสายอากาศแบบคลื่นเดินทาง Traveling Wave ซึ่งเป็นสายอากาศแบบไม่เรโซแนนซ์ <อ่านต่อ>


ข้อควรระวังในการใช้งานมิเตอร์

เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญของช่าง วิศวกรไฟฟ้า รวมไปถึงนักวิทยุสมัครเล่นด้วย หลายครั้งเราก็มีความสุขกับการใช้งานเครื่องมือวัดเหล่านั้น แต่หลายครั้งก็ดูเหมือนมันจะวัดค่าออกมาได้ไม่ตรงกับที่เราต้องการ รวมทั้งบางทีมันไปรบกวนการทำงานของวงจรไฟฟ้าของเราอีกด้วย ลองดูว่าเราต้องระวังอะไรในการใช้งานมันบ้าง <อ่านต่อ>


เครื่องวัด VSWR และ เครื่องวิเคราะห์สายอากาศ ต่างกันอย่างไร

เครื่องมือแรกๆ ที่นักวิทยุสมัครเล่นมีใช้กันนอกจากตัวเครื่องวิทยุ สายนำสัญญาณ สายอากาศ และแหล่งจ่ายไฟแล้ว ก็มักเป็น VSWR meter ที่ราคาไม่สูงนักและใช้ประโยชน์ในการวัดการสะท้อนกลับเนื่องจากการไม่แมทช์ (ไม่เท่ากัน) ของอิมพิแดนซ์ของสายอากาศและระบบ (50 โอห์ม) ได้ดี อย่างไรก็ตาม VSWR meter ก็ไม่สามารถทำสิ่งที่เครื่องวิเคราะห์สายอากาศ -(Antenna Analyzer) สามารถทำได้ <อ่านต่อ>


การสูญเสียกำลังในสาย​นำสัญญาณ (ตอนที่ 2)

หลังจากรู้พื้นฐานว่าสายนำสัญญาณสูญเสียความสามารถในการส่งกำลังจากอะไรบ้าง คราวนี้มาดูว่าสายนำสัญญาณแต่ละชนิดสูญเสียกำลังเท่าไร และหากเราใช้สายนำสัญญาณความยาวต่างๆ จะเสียกำลังไปเท่าไร มาดูวิธีคำนวณกัน <อ่านต่อ>


การสูญเสียกำลังในสาย​นำสัญญาณ (ตอนที่ 1)

นักวิทยุสมัครเล่นทราบกันดีว่าสายนำสัญญาณจะมีการสูญเสียพลังงานที่เรียกว่า Loss  แต่การสูญเสียนี้ขึ้นกับอะไรบ้าง มาดูกันใน "การสูญเสียกำลังในสาย​นำสัญญาณ (ตอนที่ 1)" <อ่านต่อ>


ดาวเทียมโคจรรอบโลกได้อย่างไร

เมื่อพูดถึงดาวเทียม แทบทุกคนต้องรู้จักอยู่แล้ว ยิ่งเดี๋ยวนี้การสร้างและยิงดาวเทียมขึ้นสู่ท้องฟ้าไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป นักวิทยุสมัครเล่นเองก็มีดาวเทียมใช้งานอยู่ไม่น้อย นอกจากการใช้งานความถี่ในการติดต่อกันแล้ว เราก็น่าจะทราบหลักการที่ทำให้ดาวเทียมโคจรรอบโลกอยู่ได้ ลองดูเรื่องนี้นะครับ <อ่านต่อ>


การเพิ่มประสิทธิผลให้สายอากาศยาง

สายอากาศแรกๆ ที่เรารู้จักกันมักเป็นสายอากาศยางที่ติดเครื่้องวิทยุสื่อสารมาเมื่อเราซื้อมันเป็นครั้งแรก เรียกได้ว่าแม้ไม่อยากจะรู้จักก็ต้องรู้จักมันอยู่ดี สายอากาศยางพอใช้งานได้ในระดับหนึ่ง แต่เราก็สามารถเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานของมันได้ด้วยการดัดแปลงเพียงเล็กน้อย <อ่านต่อ>


ดัดแปลง MMDVM Jumbo Board ให้ทำงานในย่านความถี่ VHF

นักวิทยุสมัครเล่นเป็นคนที่ใฝ่หาความรู้ ชอบดัดแปลง และทำสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ทางการสื่อสารตลอดเวลา บางครั้งเราอาจจำเป็นต้องดัดแปลงอุปกรณ์ที่มีอยู่ หรือที่สามารถหาซื้อได้ ให้ใช้งานกับความถี่ที่เราต้องการที่ได้รับอนุญาต เช่นในโครงงานนี้ เราทำให้อุปกรณ์ที่เรียกว่า MMDVM Jumbo Board ที่เป็นส่วนรับ/ส่งสัญญาณวิทยุในระบบ Hotspot ส่วนตัว ที่หาซื้อได้เป็นความถี่ UHF ให้มาทำงานในความถี่ VHF <อ่านต่อ>


VSWR กับนักวิทยุสมัครเล่น

เพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นใหม่ๆ ล้วนน่าจะถูกเตือน ถูกขู่ จนกระทั่งกินไม่ได้นอนไม่หลับ (ก็ มากไปหน่อย แต่เพื่ออรรถรสในการอ่านนิดหนึ่ง) ว่าถ้าค่าสูง (แค่ไหนล่ะ) แล้วจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ไปๆ มาๆ ทั้งชีวิตของนักวิทยุเลยมีตัวเลข VSWR นี้เป็นศาสดาไปเลย ซึ่งที่จริงแล้ว มันอาจจะ ไม่ขนาดนั้น ก็ได้ <อ่านต่อ>


เฉลยความลับการทำให้สายอากาศมีเกน

เพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นหลายคนคงชอบที่จะใช้สายอากาศที่มีเกน (ที่เรียกว่า เกนขยาย นั่นล่ะครับ ผิดครึ่งถูกครึ่งก็ไม่ว่ากันล่ะ เพราะยังไม่เกี่ยวกับบทความนี้) แต่สงสัยไหมครับว่า แล้วเขาทำอย่างไรให้สายอากาศมีเกนได้ <อ่านต่อ>


เกนของสายอากาศคืออะไร

ทุกครั้งที่พูดถึงเรื่องเกี่ยวกับเกนของสายอากาศ ก็มักมีข้อให้สงสัยเสมอว่ามันคืออะไรแน่ บางทีบางคนที่คิดว่าเข้าใจมัน อาจจะไม่จริงก็ได้ เรื่องนี้จะพูดเกี่ยวกับพื้นฐานของเกนของสายอากาศให้เราได้รู้จักมันดีขึ้นจริงๆ <อ่านต่อ>


Propagation หมายถึงอะไรกันแน่

หลายคนได้ยินคำนี้กันมาแล้ว แต่อาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร หรืออาจจะเข้าใจแต่บางมุมที่ไม่ใช่แง่มุมทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง ลองดูกันสักนิดว่า Propagation ของคลื่น คืออะไร <อ่านต่อ>


การสูญเสียกำลังในสายนำสัญญาณ

สายนำสัญญาณในชีวิตจริงของเรามีการสูญเสียกำลัง (ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) สิ่งที่ตามมานอกจากกำลังจะหายไปแล้ว ยังมีเรื่องของ VSWR และ อิมพิแดนซ์ที่มองเห็นอีกด้านหนึ่งของสายนำสัญญาณนั้นด้วย <อ่านต่อ>


ไขความลับการทริมสายนำสัญญาณและสายครู

เพื่อนๆ คงเคยได้ยินคำว่า "การทริมสายนำสัญญาณ" และ "สายครู" กันมาบ้าง แต่เราทราบจริงๆ หรือไม่ว่าการทริมสายนำสัญญาณนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง ได้ผลจริงหรือไม่อย่างไร รวมไปถึงการสร้าง "สายครู" ขึ้นมาสักเส้นนั้น มันใช้งานได้จริงหรือไม่ เราเข้าใจมันจริงๆ หรือเปล่า <อ่านต่อ>


อิมพีแดนซ์จำเพาะของสายนำสัญญาณ

สายนำสัญญาณที่พวกเรานักวิทยุสมัครเล่นใช้กันนั้นเชื่อกันว่ามีความต้านทาน 50 และ 75 โอห์ม พวก 75 โอห์มก็มักไว้ใช้งานวัตถุประสงค์พิเศษเช่นไว้แปลงอิมพิแดนซ์ ส่วนสายนำสัญญาณที่เราใช้ทำหน้าที่พากำลังคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปมาระหว่างอุปกรณ์วิทยุต่างๆ ไปจนถึงสายอากาศนั้นเราใช้ที่เป็นขนาด 50 โอห์ม ว่าแต่... ที่ว่ามันเป็น 50 โอห์มนั้น จริงหรือเปล่า <อ่านต่อ>


การเดินทางของคลื่นวิทยุผ่าน ดิน น้ำ ผนังถ้ำ

เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมเราถึงสื่อสารผ่านถ้ำหนาๆ ไม่ได้ หรือเรือดำน้ำที่อยู่ใต้น้ำถึงมีปัญหาในการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูงๆ (นอกเหนือไปจากที่จะต้องทำตัว "ลึกลับ" อยู่ใต้น้ำ ถ้ามีการใช้วิทยุมากหรือบ่อยอาจจะทำให้ข้าศึกรู้ตำแหน่งได้) เรื่องนี้จะบอกให้เข้าใจได้ไม่ยากนัก <อ่านต่อ>


การมอดูเลตแบบต่างๆ

ลำพังคลื่นความถี่ที่เราสร้างขึ้นมานั้น ไม่สามารถนำพาเอาข้อมูลข่าวสาร เช่น เสียงพูด เสียงดนตรี หรืออื่นๆ ไปกับมันได้ เราจึงมีการดัดแปลงคลื่นที่กำเนิดขึ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงในตัวเอง โดยขึ้นกับข้อมูลข่าวสาร เสียงพูด เสียงดนตรีต่างๆ ที่เราต้องการ การทำอย่างนั้นเรียกว่าการ "มอดูเลต" คลื่นพาหะด้วยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งการมอดูเลตที่ใช้ทั่วไปและในวงการวิทยุสมัครเล่นนั้นมีหลายแบบ เราจะได้มาดูกันทีละแบบเลยว่ามันมีลักษณะอย่างไรในเรื่องนี้ <อ่านต่อ>


Ground loop คืออะไรและแก้ไขอย่างไร

หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องของกราวด์ลูป (ground loop) กันมาบ้าง บางคนอาจจะเข้าใจหรือบางคนอาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร แต่ทั้งหมดน่าจะทราบว่ามันคือตัวสร้างปัญหาให้กับระบบของเรา แล้วมันคืออะไรกับสามารถป้องกันหรือแก้ไขได้อย่างไรล่ะ <อ่านต่อ>


เรื่องเล่าเกี่ยวกับความเร็วคลื่นในสายนำสัญญาณ

หลายครั้งที่เราใช้งานสายนำสัญญาณ เราอาจจะไม่สนใจคุณสมบัติจำเพาะของมันอย่างละเอียดนัก ตลอดจนบางทีเราก็เชื่อว่า (เพราะคุ้นเคย) สายนำสัญญาณหน้าตาแบบนี้ รุ่นนี้ จะมีคุณสมบัติเหมือนกันหมด แต่บางครั้งของที่มาจากผู้ผลิตต่างกันอาจจะมีคุณสมบัติต่างกันที่ถึงกับทำให้เราปวดหัวได้เลยทีเดียว โดยเฉพาะ "ความเร็วของคลื่นในสายนำสัญญาณ" นั้นๆ <อ่านต่อ>


สายอากาศทำงานอย่างไร

สายอากาศเป็นอุปกรณ์สำคัญมากในระบบวิทยุสื่อสาร เพราะมันทำหน้าที่แปลงรูปพลังงงานระหว่าง พลังงานไฟฟ้าและพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ทั้งที่สายอากาศเป็นอุปกรณ์สำคัญนี้ นักวิทยุสมัครเล่นหลายคนอาจจะไม่ทราบว่ามันแปลงพลังงานไฟฟ้าจากเครื่องส่งวิทยุไปเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้อย่างไร เรื่องนี้จะไขความข้องใจของท่านได้ครับ <อ่านต่อ>


ค่า Q คืออะไร

Q factor คืออะไร
หลายครั้งที่เราเห็นคำว่า ค่าคิว คิวแฟคเตอร์ เพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นหลายท่านอาจจะเข้าใจอยู่แล้ว แต่หลายท่านอาจจะยังไม่เข้าใจและสับสนว่ากำลังพูดเรื่องอะไร เรื่องนี้จะบอกว่ามันคืออะไร เป็นผลมาจากอะไร เกี่ยวกับการตอบสนองความถี่อย่างไร <อ่านต่อ>


ไขความลับสายอากาศ Folded Dipole (แบบที่เราใช้กัน)

หนึ่งในสายอากาศที่เป็นที่นิยมของนักวิทยุสมัครเล่นไทยมาแต่ไหนแต่ไรก็คือ สยอากาศแบบโฟลเด็ดไดโพล ส่วนมากแล้วจะเห็นการนำมาต่อร่วมกันเป็นอาเรย์ (array) เพื่อบังคับทิศทางของคลื่นทำให้มีอัตราขยายสูงในบางทิศทาง แต่สายอากาศแบบนี้ที่เราเห็นกันในประเทศไทยเป็นแบบที่มีการดัดแปลงเพิ่มขึ้น คือการลัดวงจรห่วงเสียครึ่งหนึ่ง และจากตรงนั้นเองที่มการเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อๆ กันมา <อ่านต่อ>


สายอากาศแบบ Doublet

นักวิทยุหลายคนต้องการสายอากาศที่ทำงานได้ในหลายย่านความถี่ โดยยังมีการสูญเสียต่ำ แต่ไม่สามารถขึงสายอากาศหลายเส้นหรือหลายต้นได้ จึงจำเป็นต้องใช้สายอากาศเส้นเดียวกับหลายความถี่ให้ได้ สายอากาศแบบหลายย่านความถี่หรือ multiband เหล่านี้มีหลายประเภท และแบบที่ง่ายต่อการสร้างหนึ่งก็คือสายอากาศแบบ doublet <อ่านต่อ>


คริสตัลฟิลเตอร์คืออะไร

เครื่องวิทยุสื่อสารหนึ่งเครื่องมีอุปกรณ์และวงจรมากมาย เฉพาะในเครื่องรับวิทยุก็ต้องมีวจรทำหน้าที่คัดแยกเอาเฉพาะความถี่และข้อมูลที่ต้องการสื่อสารออกมา หลายครั้งเราจำเป็นต้องพึ่งอุปกรณ์ประกอบเพื่อช่วยในการคัดกรองความถี่ที่เรียกว่าฟิลเตอร์ ซึ่งก็มีหลายชนิด และชนิดที่ดีกว่าวงจรแบบ L-C ทั่วไปก็คือ คริสตัลฟิลเตอร์ <อ่านต่อ>


แบตเตอรี่แบบ Deep Cycle คืออะไร

หลายคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับแบตเตอรี่ชนิดที่เรียกว่า Deep Cycle Battery กันมาบ้าง แบตเตอรี่นี้ถูกออกแบบมาให้จ่ายไฟได้มาก แต่ก็มีข้อจำกัดและคุณสมบัติต่างจากแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดธรรมดาที่เราจำเป็นต้องทราบในการใช้งานให้คงทน <อ่านต่อ>


VSWR มิเตอร์ทำงานอย่างไร

นักวิทยุสมัครเล่นทุกคนน่าจะรู้จักคำว่า VSWR และนอกจากนั้นอาจจะเคยใช้เครื่องมือเพื่อวัดค่าของมัน แต่หลายคนอาจจะไม่เคยทราบว่ามันวัดอะไรแน่ และมันทำงานได้อย่างไร ทำไมเราจึงต้องใช้มัน ลองอ่านเรื่องนี้ดูเพื่อทำความเข้าใจได้ดีขึ้นครับ <อ่านต่อ>


อินเตอร์มอดดูเลชั่น (Intermodulation) คืออะไร

หลายครั้งที่นักวิทยุได้ยินคำว่า "ม้อด" ซึ่งสื่อถึงการรบกวนแบบหนึ่ง แต่ก็แยกไม่ออกว่าคืออะไร หรือมีที่มาที่ไปอย่างไร เรื่องนี้จะทำให้เพื่อนๆ เข้าใจอย่างชัดเจนว่าการรบกวนที่เกิดนี้คืออะไร และจะช่วยกันลดปัญหานี้ได้อย่างไร <อ่านต่อ>


แบนด์วิดท์ของสายอากาศคืออะไร

สายอากาศวิทยุสื่อสารที่เราใช้งานกันนั้น จะทำงานได้ดีในช่วงความถี่หนึ่งเท่านั้น ยกเว้นชนิดที่ออกแบบมาให้ทำงานได้ในช่วงความถี่ที่กว้างมากเปฺ็นพิเศษ ช่วงความถี่ที่สายอากาศสามารถทำงานได้ในคุณสมบัติจำเพาะหนึ่งๆ เรียกว่าแบนด์วิดท์ (bandwidth) ของสายอากาศนั้น <อ่านต่อ>


การผสมสัญญาณและ sideband ที่เกิดขึ้น

หลังจากมีการสร้างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ก็เริ่มมีการติดต่อสื่อสารแบบที่เรียบง่ายที่สุดคือ "รหัสมอร์ส" หลังจากนั้นก็มีพัฒนาการโดยผสมเสียงและข้อมูลต่างๆ ลงไปกับคลื่นความถี่สูงก่อนที่จะส่งออกอากาศ การผสมคลื่นเหล่านี้มีสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นพร้อมๆ กันไปด้วย เรื่องนี้จะอธิบายให้เห็นว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง <อ่านต่อ>


RF Ground คืออะไร

เพื่อนๆ เคยสงสัยบ้างหรือไม่ว่า สายอากาศบางอย่างก็มีกราวด์เพลน บางอย่างก็ไม่มีกราวด์เพลน ในขณะที่สายอากาศบางอย่างนั้นตอนที่ซื้อมาก็ไม่มีกราวด์เพลนแต่ตอนใช้กลับมีคนบอกว่าต้องใส่ RF ground ให้มันด้วยนะ (บางทีเรียก counterpoise) มาดูกันดีกว่าว่าเจ้า RF ground ที่ว่านั้นคืออะไร ทำไมต้องมีมันด้วย <อ่านต่อ>


ลิเนียร์ทรานสปอนเดอร์คืออะไร

เราอาจจะเคยได้ยินคำว่า ทรานสปอนเดอร์ มาหลายครั้งแล้ว คำนี้ปรากฏอยู่กับของหลายอย่างเช่น เครื่องบิน ไปจนถึงดาวเทียม บางครั้งเราได้ยินคำใหม่ที่อาจจะซับซ้อนขึ้นคือ ลิเนียร์ทรานสปอนเดอร์ ทำให้อาจจะสงสังว่ามันคืออะไร มาลองดูกันในบทความนี้ดีกว่าครับ <อ่านต่อ>


สายอากาศแบบ DC ground คืออะไร และป้องกันฟ้าผ่าได้จริงหรือ

สายอากาศแบบ DC ground คืออะไรและป้องกันฟ้าผ่าได้จริงหรือ
เวลาเราเลือกซื้อสายอากาศ บางทีทั้งเพื่อนทั้งคนขายก็ถามเราว่าต้องการแบบ DC ground หรือไม่ บ้างก็ว่าปลอดภัยจากฟ้าผ่ามากกว่า ในขณะที่บางคนอาจจะยังไม่ทราบว่า DC ground หรือไม่ ground คืออะไรเลย เลยไม่รู้จะเชื่อเรื่องฟ้าผ่าหรือไม่ผ่าต่อไปดี ยิ่งปวดหัวหนัก ลองอ่านกันชัดๆ ดีกว่าครับ <อ่านต่อ>


VSWR สูงแล้วเครื่องวิทยุจะเสียหายจริงหรือ

VSWR สูงแล้วเครื่องวิทยุจะเสียหายจริงหรือ
หลายครั้งจนนับไม่ถ้วน เรามักได้ยินคำเตือนจากเพื่อนนักวิทยุด้วยกันว่า ต้องแมทช์สายอากาศให้ดี (หรือดีที่สุด) เพื่อให้ค่า VSWR ต่ำ ไม่เช่นนั้นเครื่องวิทยุอาจจะเสียหายได้ เรื่องนี้เป็นความจริงหรือไม่ มีเงื่อนไขทฤษฎีสนับสนุนอย่างไร มาลองดูกันครับ <อ่านต่อ>


Vmax และ Vmin ของคลื่นนิ่งบนสายนำสัญญาณ


เราเคยได้ยินมาตลอดเวลาว่า ถ้าเราต่อโหลดหรือสายอากาศที่มีอิมพิแดนซ์ไม่แมทช์กับสายนำสัญญาณ (ปกติคือ 50 Ω) แล้วจะเกิดการสะท้อนกลับของคลื่นและเกิดคลื่นนิ่งในสายนำสัญญาณนั้น แต่เราอาจจะยังไม่เข้าใจว่าคลื่นนิ่งที่ว่านั้นเกิดได้อย่างไร หน้าตาอย่างไร และที่สำคัญคือมันอยู่ตรงไหนบนสายนำสัญญาณ บทความนี้จะทำให้เราเข้าใจเรื่องเหล่านี้ได้ดีขึ้น <อ่านต่อ>


เรื่องลึกแต่ไม่ลับของ VSWR

เรื่องลึกลับของ VSWR
นักวิทยุจำนวนมากถูกสอนมาแต่แรกเกี่ยวกับค่า SWR หรือ VSWR แต่มีนักวิทยุจำนวนมากที่ยังมีความเข้าใจไม่ถูกต้อง หรือแม้แต่ผิดจากความเป็นจริงไปมาก ทำให้ความเข้าใจอื่นๆ ที่จะต่อยอดผิดไปและทำได้ยาก ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าเมื่อเราต่อสายอากาศ สายนำสัญญาณ เข้ากับเครื่องส่งวิทยุแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง <อ่านต่อ>


เมื่อเครื่องรับ "หูตึง"

หูตึง

บางทีเครื่องรับวิทยุที่เราใช้งานอยู่เป็นประจำ เกิดไม่สามารถรับสัญญาณอ่อนๆ ได้ แถมด้วยเสียงอู้อี้รบกวนออกมาทางลำโพงเสียอีก แบบนี้เพื่อนๆ มักเรียกกันติดปากว่า "หูตึง" มาดูสาเหตุกันเพิ่มอีกนิดว่าเป็นเพราะอะไร <อ่านต่อ>


ติดตั้งสายอากาศสำหรับสถานีรถยนต์ตรงไหนดี

เพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นหลายท่านที่มีรถยนต์ อาจจะติดตั้งหรือคิดจะติดตั้งสถานีบนรถยนต์ของท่านอยู่ หลายคนอาจจะสงสัยว่าตำแหน่งที่ติดตั้งสายอากาศมีผลหรือไม่อย่างไร หลายคนอาจจะพยายามหาคำตอบแต่ก็ยังไม่ทราบชัดเจน ผมจึงพยายามหาข้อมูลมาเล่าให้เพื่อนเพื่อนฟังกันนะครับ <อ่านต่อ>


กำลังส่งของเครื่องวิทยุ

เรื่องของกำลังส่งเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับนักวิทยุสมัครเล่น ไม่ใช่เพราะเราต้องการทำให้กำลังส่งสูงที่สุด (ในความเป็นจริงแล้วเราต้องการส่งด้วยกำลังส่งต่ำที่สุดเท่าที่จะติดต่อกันได้โดยไม่ลำบากต่างหาก) แต่การออกอากาศในหลายโหมดก็มีกำลังที่ต่างก้นออกไป มารู้จักกำลังส่งเหล่านี้กันดีกว่าครับ <อ่านต่อ>


เรื่องยุ่งๆ ของค่า RMS และกำลังไฟฟ้า

เรื่องยุ่งๆ ของค่า RMS และกำลังไฟฟ้า
เพื่อนๆ นักวิทยุสมัครเล่นอาจจะคุ้นเคยกับการคำนวณวงจรกระแสตรงง่ายๆ แต่เมื่อวงจรไฟฟ้าเป็นแบบกระแสสลับ หรือแม้แต่กระแสที่ไม่ต่อเนื่อง การคำนวณกำลังต่างๆ จึงเปลี่ยนไปและมีศัพท์ใหม่ๆ ให้ได้รู้เพิ่มเติม ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานสูงการเข้าใจเรื่องอื่นเพิ่มขึ้นรวมทั้งการเข้าใจกำลังส่งของเครื่องวิทยุสื่อสารอีกด้วย <อ่านต่อ>


อากาศเปิดคืออะไร

การเป็นนักวิทยุสมัครเล่นมีอะไรที่น่าสนใจมากมาย หนึ่งในนั้นคือการได้พูดคุยติดต่อกับนักวิทยุสมัครเล่นอื่นในระยะทางไกลๆ  ปกติแล้วคลื่นความถี่ย่าน VHF จะเดินทางได้ไม่ไกลมากนัก แต่บางทีก็เกิดสิ่งที่เรียกว่า "อากาศเปิด" ได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ของปี ทำให้เราติดต่อกันได้ไกลๆ มาดูกันว่ามันคืออะไร <อ่านต่อ>


ATU อยู่ตรงไหนดี

สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นที่ใช้งานย่านความถี่ HF แล้ว จะมีอุปกรณ์หนึ่งที่คุ้นเคยและนำมาใช้งานอยู่ในระบบเสมอก็คือ เครื่องปรับอิมพิแดนซ์สายอากาศ หรือ Antenna Tuner นั่นเอง การติดตั้ง ATU นี้ทำได้หลายที่ แต่ละตำแหน่งก็มีความแตกต่างกัน มาดูกันสักนิดว่าต่างกันอย่างไร <อ่านต่อ>


สายอากาศ ยากิ-อูดะ ทำงานอย่างไร

สายอากาศ ยากิ-อูดะ ทำงานอย่างไร
เชื่อว่านักวิทยุสมัครเล่นแทบทุกคนต้องเคยได้ยินชื่อของสายอากาศแบบ "ยากิ" กันมาบ้างแล้ว ที่จริงแล้วสายอากาศชนิดนี้เรียกว่าสายอากาศแบบ "ยากิ-อูดะ" มาดูกันว่าทำไมเรียกชื่อเต็มๆ ได้แบบนั้นแหละมันทำงานอย่างไร <อ่านต่อ>


สายอากาศไดโพลแบบสั้น (shortened dipole antenna)

การติดต่อด้วยคลื่นวิทยุที่ระดับความถี่สูง (HF) แทนความถี่ระดับสูงมาก (VHF) จะมีพฤติกรรมการเดินทางของคลื่นต่างกัน คลื่นความถี่ HF สามารถเลี้ยวเบนกลับลงมาจากชั้นบรรยากาศทำให้ได้ระยะทางติดต่อที่ไกลขึ้น แต่ด้วยความถี่ต่ำทำให้ขนาดของสายอากาศใหญ่โตจนอาจจะเกิดปัญหากับการติดตั้งได้ แต่เราก็สามารถทำให้มันสั้นลงได้เช่นกัน <อ่านต่อ>


un-un 9:1

ในงานวิทยุความถี่สูง (HF) มีสายอากาศจำนวนมากให้เราเลือกใช้งาน หลายอย่างเราสามารถปรับเปลี่ยน แปลง อิมพิแดนซ์ของมันได้ ในขณะคราวเดียวกันก็อาจจต้องการระมัดระวังเรื่องกระแสส่วนเกินที่ไม่ต้องการ (ที่เรีกว่า common mode current) ลองดูกันว่าหนึ่งในอุปกรณ์ดังกล่าวที่เรียกว่า un-un แบบ 9:1 นั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไร <อ่านต่อ>


ทำไมทริมสายนำสัญญาณแล้ว VSWR เปลี่ยนได้

ตามหลักการทำงานของสายนำสัญญาณจริงๆ แล้ว ความสั้นหรือยาวของสายนำสัญญาณจะไม่ทำให้ค่าอัตราส่วนคลื่นนิ่งหรือ VSWR เปลี่ยนไป แต่หลายครั้งที่นักวิทยุสมัครเล่นลองตัดหรือทริม (trim) สายนำสัญญาณแล้วทำให้ค่าของ VSWR เปลี่ยนได้ ทำให้มีการพยายามตัดสายนำสัญญาณด้านเครื่องส่งเพื่อทำให้ค่า VSWR ต่ำที่สุด จนกลายเป็นความเชื่อว่าความสั้นหรือยาวของสายนำสัญญาณทำให้ค่าอัตราส่วนคลื่นนิ่งหรือ VSWR เปลี่ยนได้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น <อ่านต่อ>


บาลัน (balun) และการเลือกใช้

นักวิทยุจำนวนมากอาจจะเคยได้ยินคำว่า บาลัน มาบ้างแล้ว แต่หลายคนอาจจะยังสงสัยว่ามันคืออะไร ทำหน้าที่อะไร ต้องมีหรือไม่ และเลือกใช้อย่างไร เรื่องราวในบทความนี้อาจจะทำให้เพื่อนๆ เข้าใจมันดีขึ้นก็ได้ <อ่านต่อ>


สายอากาศต้องเรโซแนนซ์หรือไม่

สายอากาศต้องเรโซแนนซ์หรือไม่
เรามักเคยได้ยินคำว่า เรโซแนนซ์ กันอยู่บ่อยๆ หลายท่านอาจจะเข้าใจลึกซึ้งในขณะที่หลายท่านอาจจะยังเข้าใจไม่ทั้งหมด ยิ่งมาพูดถึงว่าสายอากาศนั้นเรโซแนนซ์หรือไม่แล้วยิ่งสับสันไปกันใหญ่ จนมีคำถามว่าตกลงสายอากาศต้องเรโซแนนซ์หรือไม่ และถ้าไม่เรโซแนนซ์แสดงว่าไม่ดีใช้การไม่ได้เรื่องจริงหรือเปล่า ลองดูกันให้หายสงสัยดีกว่าครับ <อ่านต่อ>


59/+60 dB จริงหรือ



แทบทุกครั้งที่มีการติดต่อสื่อสารทางวิทยุของเหล่านักวิทยุสมัครเล่น มักมีการรายงานสัญญาณที่รับได้ (เรียกว่า "Report สัญญาณ"  และหลายครั้งมีการรายงานความแรงสัญญาณที่เกิน S-meter 9 ไป เราเคยสงสัยกันหรือไม่ว่ามันคืออะไร และสิ่งที่รายงานนั้นเป็นจริงหรือไม่ <อ่านต่อ>


ที่มาของคำว่า 73 และ 88


นักวิทยุทุกคนต้องรู้จักตัวเลขมหัศจรรย์สองตัวนี้ และแน่นอนว่ารู้ความหมายว่าคือ ด้วยความปรารถนาดี และ ด้วยรักและคิดถึง (จุ้บๆ ด้วยไหมก็แล้วแต่สถานการณ์) แต่ที่มาที่ไปล่ะ เป็นมาอย่างไร มาดูกันสักนิดดีกว่าครับ <อ่านต่อ>


ชั้นบรรยากาศของโลกกับการเดินทางของคลื่นวิทยุ

การสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุนั้นมีธรรมชาติของมันเอง ความถี่วิทยุก็มีคุณสมบัติและความประพฤติต่างกันไปตามความถี่นั้นๆ และเมื่อมันต้องเดินทางไปในชั้นบรรยากาศต่างๆ ของโลก คุณสมบัติของมันจึงทำให้ระยะทางที่สามารถติดต่อสื่อสารได้เปลี่ยนแปลงไป <อ่านต่อ>


สายนำสัญญาณแบบเปิด


สายนำสัญญาณมีหลายรูปแบบมาก นอกจากที่เราคุ้นเคยกันที่เป็นสายนำสัญญาณแบบแกนร่วม (Coaxial) แล้ว ก็มีสายนำสัญญาณแบบเปิด (Open-Wire) อีก สายนำสัญญาณแบบเปิดอาจจะติดตั้งยากสักนิดแต่ก็มีข้อดีอยู่หลายอย่างในตัวชนิดที่นำมาใช้งานได้ผลดีทีเดียว <อ่านต่อ>


VSWR ที่แท้จริงกับการสูญเสียที่เกิดขึ้น


เมื่อเราต่อสายนำสัญญาณยาวๆ จากสายอากาศลงมายังเครื่องรับ-ส่งวิทยุที่อยู่ไกลออกไป เราก็จะทำการตรวจวัดค่า vswr ตามปกติที่ปลายสายนำสัญญาณก่อนจะต่อเข้ากับเครื่องวิทยุสื่อสาร แต่สิ่งที่เราวัดได้กับสิ่งที่เป็นจริงที่สายอากาศนั้นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร และมีผลกับการสูญเสียอะไรแค่ไหนล่ะ <อ่านต่อ>


การสูญเสียกำลังในสายนำสัญญาณกับค่า VSWR


หลายครั้งที่เพื่อนพูดถึงการที่ระบบสายอากาศมีค่า VSWR สูง แล้วทำให้เกิดผลเสีย แต่เราก็ไม่ค่อยเข้าใจเต็มที่ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ เพราะมักได้ยินเพียงว่าอาจจะทำให้เครื่องส่งวิทยุเสียหายได้ เกิดการรบกวนได้ง่าย ทำให้สายนำสัญญาณร้อนบ้าง มาดูกันดีกว่าว่าสิ่งที่เกิดขึ้นที่ทำให้เกิดการสูญเสียมากกว่าปกติเป็นเพราะอะไร <อ่านต่อ>


อธิบาย VSWR ด้วยตัวอย่าง


เรื่องของ VSWR บางครั้งก็ดูเป็นเรื่องลึกลับซับซ้อนอันดับต้นๆ ของนักวิทยุสมัครเล่น บางครั้งเมื่อเล่ากันไปมาแล้วจึงกลายเป็นสิ่งพิสดารเกินความเข้าใจได้ ทั้งที่จริงแล้วเข้าใจได้ไม่ยาก นอกจากการคำนวณที่ซับซ้อนแล้ว อันที่จริงเราสามารถยกตัวอย่างเป็นตัวเลขและให้เห็นภาพได้ง่ายๆ ด้วยซ้ำไป <อ่านต่อ>


แพทเทิร์นของสายอากาศโพลาไรเซชั่นแนวนอนที่ความสูงต่างๆ


สายอากาศของวิทยุสมัครเล่นในย่านความถี่ HF มักจะอยู่ในแแนวนอน ทั้งนี้เพราะความสะดวกในการติดตั้งเนื่องจากความใหญ่โตของมัน นอกจากนั้นยังได้ใช้ประโยชน์จากการสะท้อนคลื่นจากพื้นที่อยู่รอบๆ สายอากาศด้วย ทำให้รูแบบการแพร่กระจายคลื่นต่างไปจากเดิมและช่วยการแพร่กระจายคลื่นได้ <อ่านต่อ>


การใช้สมิทชาร์ทในการแมทช์อิมพิแดนซ์


สมิทชาร์ทถือว่าเป็นเครื่องมือทรงพลังมากในการแมทช์อิมพิแดนซ์ต่างๆ ให้กับเรา ลองดูว่าเราใช้งานมันอย่างไร พร้อมกับตัวอย่างในการคำนวณในเรื่องนี้ครับ <อ่านต่อ>


zy-chart คืออะไร

เรารู้จักสสมิทชาร์ทกันไปแล้วและรู้ว่ามีประโยชน์มากมาย zy-chart เป็นการต่อยอดสมิทชาร์ทมาตรฐานที่เแสดง z-plane บน Γ-plane โดยเพิ่ม y-plane ลงไปด้วย จะมีประโยชน์ในเการช่วยเราแมทช์อิมพิแดนซ์ต่างๆ แต่ก่อนหน้านั้นเราควรต้องรู้ก่อนว่ามันมีที่มาอย่างไร และหมายถึงอะไร จะได้ใช้งานได้อย่างถ่องแท้จริงๆ <อ่านต่อ>


การใช้งานสมิทชาร์ท

หลังจากที่รู้ ที่มาของ Smith Chart กันไปแล้ว คราวนี้เราเริ่มมาดูกันว่ามันใช้ทำอะไรได้บ้าง เป็นบทความที่เขียนให้ละเอียดพอที่เพื่อนๆ จะเข้าใจได้ มีการคำนวณตามความจำเป็น และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย <อ่านต่อ>



ที่มาของ Smith Chart

เห็นแต่คนเขาพูดกัน และรู้นะว่ามีประโยชน์ แต่จะเอามาใช้ก็ไม่เป็น ซ้ำร้ายกว่านั้นยังไม่รู้เลยว่ามันคืออะไรและมีที่มาที่ไปอย่างไร บทความเรื่องนี้จะเล่าให้ฟังแบบง่ายๆ ว่าสมิทชาร์ที่โด่งดังนั้นเป็นมาอย่างไร ก่อนที่จะนำมันไปใช้งานในตอนต่อๆ ไป <อ่านต่อ>


ความต้านทานที่เปลี่ยนไปตามสายนำสัญญาณ

จากบทความคราวที่แล้ว ที่เราคุยกันเรื่อง ทฤษฎีสายนำสัญญาณ และได้เขียนสูตรการคำนวณเอาไว้คร่าวๆ มาคราวนี้เรามาทดลองคำนวณกันดูจริงๆ บ้างดีกว่าว่าถ้าเราต่อโหลดเข้ากับปลายของสายนำสัญญาณเส้นหนึ่งแล้ว จะเห็นอิมพิแดนซ์ที่ปลายสายอีกข้างหนึ่งเป็นเท่าไร <อ่านต่อ>


ทฤษฏีสายนำสัญญาณ

สายเส้นเล็กๆ หรืออาจจะใหญ่สักหน่อยแต่ก็ไม่ใหญ่ไปกว่าท่อน้ำได้เท่าไรนัก ที่เราใช้กันอยู่และเรียกว่า "สายนำสัญญาณ" ที่ทำหน้าที่พาเอาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าวิ่งไปมาจากเครื่องส่งวิทยุไปยังสายอากาศ หรือจากสายอากาศกลับมายังเครื่องรับวิทยุ มีทฤษฎีเบื้องหลังมากมาย เหตุเพราะสิ่งที่วิ่งในนั้นเป็นคลื่นที่ทบกันหลายลูกคลื่นแทนที่จะเป็นไฟฟ้ากระแสที่สม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น จึงต้องมีทฤษฎีอธิบายโดยเฉพาะ <อ่านต่อ>


สายอากาศไดโพลทำงานอย่างไร

สายอากาศโฟลเด็ดไดโพล พัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของสายอากาศไดโพล

สายอากาศแบบไดโพลเป็นสายอากาศพื้นฐานที่สุด (ที่จริง แค่เอาสายนำสัญญาณแบบสายคู่มาฉีกปลายออกก็เป็นสายอากาศไดโพลแล้ว) เราสามารถเอามาต่อพ่วงกัน หรือแม้แต่ทำให้ยาวขึ้นแล้วต่อร่วมกัน หรือทำเป็นแบบวงรอบแล้วยืดออกก็กลายเป็นสายอากาศแบบลูปได้ แต่สายอากาศไดโพลเองทำงานอย่างไร มากันใน "สายอากาศไดโพลทำงานอย่างไร" ได้เลยครับ <อ่านต่อ>


สายอากาศแบบ Phased Array

แทบจะพูดได้ว่ามีหลักการเดียวที่เราจะทำให้สายอากาศมีอัตราขยายสูงขึ้นได้คือการนำมาต่อกันแบบ phased array เพราะไม่ว่าจะเป็นสายอากาศหลายชั้น สายอากาศแบบยากิ-อูดะ สายอากาศที่เอามาสแต็กกัน จะว่าไปก็เป็นการจับมาอาเรย์ (array) กันแล้วป้อนด้วยสัญญาณที่มีเฟสที่เราได้ออกแบบเอาไว้ทั้งสิ้น มาดูหลักการของสายอากาศแบบนี้กันดีกว่า <อ่านต่อ>


เล่าเรื่องสายอากาศแบบ Loop

เราคงเคยเห็นสายอากาศว่ามีหลายแบบหลายประเภท และหนึ่งในนั้นคือสายอากาศแบบลูปปิด เรามาดูกันดีกว่าว่ามันมีคุณสมบัติทืี่แตกต่างจากสายอากาศแบบธรรมดาอย่างไรบ้าง <อ่านต่อ>


ประวัติของสายนำสัญญาณแบบแกนร่วม (Coaxial Cable)

กว่าจะมีวันนี้ สายนำสัญญาณที่เห็นนี่ก็ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านการแก้ไขมาหลายครั้ง จนได้สายนำสัญญาณแบบแกนร่วมหรือ coaxial cable ที่เราเห็นใช้งานกันทั้งในระบบสื่อสารและระบบรับอย่างเดียว (broadcast) ดูที่มาของมันกันดีกว่าครับ (ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก qrz.com) <อ่านต่อ>


การแมทชิ่งทำอย่างไร

เมื่อพูดถึงการแมทช์ ที่บางทีฟังเป็นเรื่องยากสำหรับนักวิทยุสมัครเล่นอย่างพวกเรา แต่ที่จริงแล้วการแมทช์นั้นมีหลายวิธีมาก นอกจากนั้นยังใช้แบบลูกผสมกันได้อีก แต่ก่อนจะพลิกแพลงมากเรามาดูวิธีการหลักๆ กันก่อนว่ามีอะไรบ้างดีกว่า <อ่านต่อ>


การแมทช์คืออะไร

ตั้งแต่เป็นนักวิทยุสมัครเล่นมา ก็วุ่นวายได้ยินกับคำว่าแมทช์ ไม่แมทช์อยู่ตลอดเวลา จนบางทีกลายเป็นคำศักดิ์สิทธิไปแล้วว่าถ้าไม่แมทช์จะทำให้เกิดสิ่งผิดปกติจนถึงขั้นภัยพิบัติกันไปเลย (ที่จริงก็ไม่ได้ขนาดนั้นหรอก) เอาเป็นว่ามาดูกันก่อนดีกว่าว่าที่จริงแล้วการแมทช์คืออะไรกันแน่ <อ่านต่อ>


ความต้านทานจำเพาะของสายนำสัญญาณคืออะไร

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า เวลาเราไปซื้อสายนำสัญญาณต่างๆ ทีร้านอุปกรณ์สื่อสาร เรามักจะต้องบอกว่าเป็นสายขนาดกี่โอห์ม เช่น 50 หรือ 75 โอห์มเป็นต้น แต่เมื่ออยากจะรู้ว่ามันเป็น 50 หรือ 75 โอห์มจริงหรือไม่เรากลับไม่สามารถนำมิเตอร์ไปวัดมันได้ ก็เพราะมันเป็น "ความต้านทานจำเพาะ" ทางความถี่สูงของสายนำสัญญาณและไม่สามารถวัดได้ด้วยโอห์มมิเตอร์แบบกระแสตรงนั่นเอง แล้วความต้านทานจำเพาะนี้มีที่มาที่ไปอย่างไรล่ะ มาดูกันในบทความนี้ดีกว่า <อ่านต่อ>


มารู้จักอิมพิแดนซ์กันเถอะ

ในความถี่สูง อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีความเก็บประจุทางไฟฟ้าและตัวเหนี่ยวนำ จะเริ่มมีผลต่อการนำกระแส รวมมทั้งเกิดการนำหรือตามที่ต่างกันของเฟสของศักดาไฟฟ้าและกระแสที่ไหลผ่านอุปกรณ์และวงจรด้วย สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดตัวแปรหรือพารามิเตอร์ที่สำคัญหนึ่งขึ้นคือ อิมพิแดนซ์ แล้วมันคืออะไร บทความนี้จะทำให้เพื่อนๆ เข้าใจได้ง่ายขึ้น <อ่านต่อ>


ช่วงความถี่ของวิทยุสมัครเล่น (Amateur Radio Band Plan)

ในโลกสำหรับนักวิทยุสมัครเล่นแล้ว มีความถี่อีกจำนวนมากมายที่เราสามารถใช้ได้ แต่ก็ต้องการการได้รับอนุญาตที่อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ลองดูกันก่อนว่านอกจากความถี่ 144-146 MHz สำหรับขั้นต้นแล้ว เราจะใช้ความถี่ใดได้อีก <อ่านต่อ>


ทฤษฎีไฟฟ้าสำหรับผู้เตรียมตัวสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น

สำหรับผู้สนใจในกิจการวิทยุสมัครเล่น และต้องการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นแล้ว จะต้องผ่านการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นเสียก่อน ซึ่งการสอบประกอบไปด้วยหลายวิชา เช่น กฏหมายเกี่ยวกับวิทยุโทรคมนาคม หลักการสื่อสาร จริยธรรมในการติดต่อสื่อสาร และทฤษฎีไฟฟ้า เราได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีไฟฟ้าที่สำคัญไว้ในเรื่องนี้ <อ่านต่อ>


ผลของชั้นบรรยากาศต่อการสื่อสารย่าน HF

ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้นโลกเรามีผลต่อการเดินทางของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในย่าน HF (High Frequency) ทำให้การติดต่อไปได้ไกลกว่าปกติ มาดูกันว่าเป็นเพราะอะไร <อ่านต่อ>