เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น

เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น ทั้งไทยและต่างประเทศ เล่าสู่กันฟังครับ


การเอาเม้าท์แม่เหล็กออกจากหลังคารถ

เป็นกันบ้างไหมครับ ตอนติดลงไปก็กลัวว่าจะไม่อยู่ แต่ตอนจะเอาออกนี่หนักกว่าเดิม  จะแคะรุนแรงก็กลัวรถจะถลอกเป็นรอยเสียหมด มาดูกันว่ามีเทคนิคกการเอาเม้าท์แม่เหล็กออกอย่างไร <อ่านต่อ>


Pile Up คืออะไร


การติดต่อของนักวิทยุสมัครเล่นมีหลายรูปแบบ หลายครั้งเพื่อนๆ จำนวนมากต้องการติดต่อกันทำให้เกิดความสับสนอลหม่านเอาได้ การจัดการกับเพื่อนจำนวนมากแบบนี้มีเทคนิคที่นักวิทยุสมัครเล่นใช้กัน ลองดูรายละเอียดกัน <อ่านต่อ>


ฟังก์ชั่น RIT คืออะไร


บางครั้งเราต้องการเปลี่ยนความถี่ที่เรากำลังรับฟังอยู่เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ชัดเจนขึ้นหรือเพื่อหลีกเลี่ยงความถี่ใกล้เคียงที่รบกวนอยู่โดยไม่เปลี่ยนความถี่ที่เราใช้ในการส่ง ความต้องการนี้ทำได้โดยง่ายหากเครื่องวิทยุที่ใช้มีฟังก์ชั่นทีเรียกว่า RIT  <อ่านต่อ>


คุยกันเรื่องอัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน (S/N ratio)


สัญญาณรบกวนเป็นสิ่งที่เราไม่ปรารถนาในการสื่อสาร แต่ก็เข้ามายุ่งกับชีวิตนักวิทยุสมัครเล่น (และบรรดาช่างเทคนิค วิศวกรทั้งหลาย) อยู่บ่อยๆ เรามีวิธีบอกความรุนแรงของสัญญาณรบกวนที่เป็นมาตรฐานที่เข้าใจกันคือ S/N Ratio มาดูว่าคำนวณอย่างไร และจะพอ "ประมาณ" ค่านี้ที่บ้านเราได้ไหม <อ่านต่อ>


ชมรม The DXER (E20AE) สอนการใช้งานรหัสมอร์สเบื้องต้น


นักวิทยุหรือแม้แต่คนทั่วไปอาจจะเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับรหัสมอร์สมากมากแล้ว แต่การจะใช้ได้และใช้เป็นนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายแต่มีขั้นตอน การเรียนรู้และฟังออกเป็นทักษะเบื้องต้น แต่การใช้งานได้จริงจะต้องการทักษะและความรู้ในอีกขั้นหนึ่ง คลับสเตชั่น The DXER จึงริเริ่มการสอนรหัสมอร์สและการใช้งานรหัสมอร์สแบบออนไลน์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย  <อ่านต่อ>


Q code ที่ใช้ผิดบ่อย

การสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุในยุคแรกๆ นั้นเราใช้รหัสมอร์สเป็นหลัก มีการประดิษฐ์สัญญลักษณ์เสียงและตัวย่อต่างๆ เพื่อให้ง่ายและผิดพลาดน้อยลงในการสื่อสาร ตัวย่อส่วนหนึ่งคือรหัส Q หรือ Q code ที่มีจำนวนมาก แต่บางทีบางตัวก็ถูกใช้ไม่ถูกต้องนัก <อ่านต่อ>




ข้อควรรู้ในการเทียบใบอนุญาตสหรัฐอเมริกา-ไทย


วิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการสากล แทบทุกประเทศในโลกมีกิจกรรมวิทยุสมัครเล่นและนักวิทยุสมัครเล่น นอกจากนั้นหลายประเทศยังมีสัญญาต่างตอบแทนต่อกัน ทำให้นักวิทยุในประเทศหนึ่งสามารถเทียบเพื่อรับใบอนุญาตของอีกประเทศหนึ่งได้ สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกาและไทยก็เช่นกัน เราสามารถเทียบใบอนุญาตกันได้ แต่ก็มีข้อควรรู้ ระวัง และปฏิบัติด้วย <อ่านต่อ>


บีคอน (Beacon) คืออะไร

การสื่อสารด้วยความถี่ย่าน HF นั้น อาศัยสภาพการกระจายคลื่นจากชั้นบรรยากาศมาช่วยอยู่มาก (ที่เรียกว่า "คลื่นฟ้า" หรือ "Sky wave")  เรารู้คุณสมบัติของชั้นบรรยากาศในทิศทางต่างๆ ได้ไม่ยากในยามที่เพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นใช้งานความถี่อยู่ ก็คงพอสังเกตได้จากการรับฟังว่าคลื่นจากทิศใดประเทศไหนเดินทางมาหาเราได้ดี แต่ในยามที่ไม่ค่อยมีใครใช้ความถี่ เราคงสังเกตได้ยาก แล้วจะทำอย่างไรดี <อ่านต่อ>


WARC bands คืออะไร

นักวิทยุสมัครเล่นมีความถี่หลายช่วงให้ได้ทดสอบใช้งาน บางครั้ง บางวัน วันดีคืนดี ความถี่เหล่านี้ก็ถูกใช้ในการแข่งขัน ซึ่งก็เป็นกิจกรรมหนึ่งของนักวิทยุสมัครเล่นนั่นล่ะ แต่ก็ยังมีนักวิทยุฯ อีกจำนวนหนึ่งที่ยังอยากจะใช้ความถี่นการทดลอง ทดสอบ โดยไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการแข่งขัน ประกอบกับความถี่บางช่วงมีข้อจำกัดบางอย่าง จึงทำให้เกิด WARC bands ขึ้น แล้วมันคืออะไร <อ่านต่อ>


DSTAR Alliance Net เราจะไม่พรากจากกัน

วิทยุสื่อสารแบบดิจิตอลมีหลายระบบมาก หนึ่งในนั้นมาจากผู้ผลิตชั้นนำคือ Icom ที่ถือสิทธิการเข้ารหัสเสียงและใช้ในระบบที่เรียกว่า DSTAR ในประเทศไทยเรามีการพัฒนาเซิรฟเวอร์ที่ใช้ต่อเชื่อมสัญญาณเข้าด้วยกัน ที่เรียกว่า Reflector จนมีการทดสอบสัญญาณระหว่างนักวิทยุสมัครเล่น และมีการพยายามต่อ Reflector หลายตัวเข้าด้วยกันเพื่อให้ง่ายต่อการทำ net <อ่านต่อ>


ทำไมเราเรียกมอร์สว่า CW

เพื่อนๆ แทบทุกคนคงรู้จักรหัสมอร์สกัน บางคนว่ายาก บางคนที่เป็นแล้วก็บอกว่าไม่เห็นมีอะไรเลย ง่ายกว่าว่ายน้ำเสียอีก (อย่างน้อยก็ไม่เสี่ยงกับการจมน้ำเกือบตายตอนฝึกล่ะน่า) แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นในเรื่องนี้ เพราะเรากำลังจะไขข้อข้องใจว่า เอ๊ะ ทำไมนักวิทยุสมัครเล่นถึงเรียกการส่งรหัสมอร์สว่าโหมด CW ที่มาจาก continuous wave หรือ "คลื่นต่อเนื่อง" ทั้งที่การส่งมันมาเป็นท่อนๆ เสียงสั้น เสียงยาว ไม่เห็นจะต่อจะเนื่องอะไรเลย ว่าแล้วก็มาดูกันดีกว่า <อ่านต่อ>


สัญญาณเรียกขานนั้นสำคัญไฉน (อะไรกันนักหนา)

นักวิทยุสมัครเล่นทุกคนต้องมีสัญญาณเรียกขาน แต่สัญญาณเรียกขานในเมืองไทยที่มีกฏระเบียบการเรียงลำดับ เก่า ใหม่ รวมทั้งมีการเรียกคืนสัญญาณเรียกขายที่ไม่ได้ใช้งานนานกลับไป ทำให้เกิดข้อสงสัยมากมาย วันนี้เรามาเล่าเรื่องสัญญาณเรียกขานกันจริงๆ จังๆ สักหน่อยว่า ที่จริงแล้วมันสำคัญในแง่มุมไหนกันแน่ <อ่านต่อ>


เขาทำอะไรกันในการ(เช็ค)เน็ท

นักวิทยุสมัครเล่นไทยคงคุ้นเคยกับคำว่า เช็คเน็ท กันดี หลายคนคงเคยเข้าร่วมการ เช็คเน็ท ที่ว่าหลายครั้งแล้วด้วย คราวนี้มาลองดูกันว่า การที่นักวิทยุสมัครเล่นมารวมตัวกันที่ความถี่และเวลาที่นัดหมาย แล้วติดต่อกันนั้น เรียกว่าอะไรกันแน่ และการติดต่อนั้น ติดต่อเรื่องอะไรได้บ้าง <อ่านต่อ>


ประวัติการสอบรหัสมอร์สในสหรัฐอเมริกา

ในยุคเริ่มแรกของวิทยุสื่อสารและวิทยุสมัครเล่น เรายังไม่สามารถผสมเสียงของเราลงไปในสัญญาณที่ส่งออกอากาศออกไปได้ ในตอนนั้นนักวิทยุสมัครเล่นเองมีทางเดียวในการสื่อสารคือ "รหัสมอร์ส" ที่ในปัจจุบันอาจจะเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ CW (Continuous Wave) นักวิทยุสมัครเล่นของสหรัฐอเมริกาเองก็ต้องสอบรหัสมอร์สทุกคน เมื่อวันเวลาผ่านไป สิ่งต่างๆ ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง เราลองย้อนรอยหาอดีตกันว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง <อ่านต่อ>


เขาคุยอะไรกันใน CW QSO

เพือนหลายคนอาจสงสัยว่า เมื่อเราฟังรหัสมอร์สตัว A-Z และตัวเลข 0-9 ออกแล้ว ทำไมไปนั่งฟังเพื่อนที่เคาะคุยรหัสมอร์สแล้วยังไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจว่าเขาคุยอะไรกัน ส่งอะไรมา มีคำที่ล้วนไม่เข้าใจมาด้วยเต็มไปหมด ก็ลองดูว่ารูปแบบการติดต่อรวมทั้งตัวย่อต่างๆ ที่เรามักใช้กัน มีอะไรบ้าง <อ่านต่อ>


การติดต่อที่สมบูรณ์

หลายครั้งเมื่อเราติดต่อวิทยุกับเพื่อนที่คุ้นเคยกัน เราอาจจะไม่ได้บันทึกข้อมูลลงในสมุดบันทึกการติดต่อหรือ log book (ซึ่ง ตามระเบีบบแล้วควรทำนะครับ) แต่ในการติดต่อแบบทางไกล หรือกับต่างประเทศ ไม่ว่าจะด้วยโหมดใด เราควรอย่างยิ่งที่จะบันทึกการติดต่อไว้ เพราะคู่สถานีของเราอาจจะต้องการข้อมูลนั้นไว้ยืนยันด้วยเช่นกัน บางครั้งการติดต่ออาจจะสมบูรณ์หรือไม่ก็ได้ ขึ้นกับเงื่อนไขบางอย่าง แล้วการติดต่อที่สมบูรณ์ต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง <อ่านต่อ>


ฝึกมอร์สไว้ใช้กันเถอะ (ไม่ใช่แค่สอบ)

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีเพื่อนนักวิทยุหลายท่านที่สอบผ่านการฟังรหัสมอร์สแล้ว แต่กลับไม่สามารถใช้งานได้จริง นับว่าเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะว่าจะฟังได้ เขียนลงกระดาษคำตอบเพื่อสอบผ่านได้ แต่กลับใช้งานไม่ได้ มาลองดูกันว่ามีวิธีอะไรที่ทำให้เราฝึกถึงระดับที่ใช้งานได้จริง <อ่านต่อ>


นักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นกับรหัสมอร์ส

เราอาจจะเข้าใจผิดกันมานานว่า รหัสมอร์สนั้นมีไว้สำหรับให้นักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางและขึ้นสูงใช้งานเท่านั้น ในสมัยก่อนอาจจะเป็นเช่นนั้นจริง แต่ปัจจุบันนี้นักวิทยุทุกขั้นก็สามารถปฏิบัติการ (operate) ด้วยรหัสมอร์สได้ <อ่านต่อ>


ข้อควรปฏิบัติในการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมในโหมด FM

วิทยุสมัครเล่น ไม่ได้เล่นกันแต่บนพื้นดินเท่านั้น แต่เล่นกันไปถึงอวกาศกันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างภาคพื้นดินกับยานอวกาศหรือสถานีอวกาศ และการติดต่อระหว่างภาคพื้นดินด้วยกันแต่ผ่านดาวเทียมของนักวิทยุสมัครเล่น นอกจากดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นที่เราสามารถใช้งานได้แล้ว อีกไม่นานจะมีดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นของไทยโคจรอยู่บนฟากฟ้าให้เราได้ใช้กันด้วย แต่... เราใช้มันเป็นไหม ใช้อย่างไรให้ถูกกติกามารยาทล่ะ <อ่านต่อ>


ทำไมยังใช้รหัสมอร์สกันอยู่

รหัสมอร์ส ถูกใช้เป็นที่แพร่หลายในช่วงเวลาที่ผ่านมา แต่เมื่อวงจรและอุุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ถูกพัฒนาขึ้นกว่าเดิมมาก การผสมคลื่นในรูปแบบต่างๆ ก็ทำได้ง่ายขึ้น ในต้นทุนที่ต่ำลง แต่การติดต่อแบบรหัสมอร์สก็ยังไม่หายไปจากโลกนี้ โดยเฉพาะในหมู่นักวิทยุสมัครเล่น แล้วเคยสงสัยบ้างไหมว่า ทำไมเรายังคงใช้งานกันอยู่ <อ่านต่อ>


ประวัติของรหัสมอร์ส

แทบทุกคนคงรู้จัก รหัสมอร์ส แต่น้อยคนจะรู้ที่มาที่ไป และเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างการพัฒนารหัสมอร์สเพื่อใช้งานได้จริง เรานำเรื่องราวนี้มาฝากเพื่อนๆ นักวิทยุสมัครเล่นกัน <อ่านต่อ>


ทดสอบสายอากาศ ของแท้-ไม่แท้


สายอากาศเป็นอุปกรณ์สำคัญมากของระบบสื่อสารด้วยวิทยุ มีผู้ผลิตจำนวนมาก และมีคุณภาพที่หลากหลาย ราคาก็ต่างกันมากทั้งที่บางครั้งรูปร่างหน้าตาเหมือนๆ กัน บางทีก็มีของแท้ๆ บางครั้งก็เป็นของเลียนแบบ อีกทีก็ไม่รู้ว่าใครแท้ใครเทียมก็ยังมี คราวนี้เราเอาสายอากาศสองต้นที่หน้าตาคล้ายกันมาก มาทดสอบกันดู <อ่านต่อ>


รู้จัก S-meter บนเครื่องของเราให้มากขึ้น

S-meter บนเครื่องวิทยุมีประโยชน์ที่บอกความแรงสัญญาณจากคู่สถานีที่เรารับได้ แต่นักวิทยุสมัครเล่นส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่า ระดับสัญญาณที่ต่างกัน 1, 2 หรือ 3 ขีดต่างๆ บน S meter นั้นมีความแรงต่างกันเท่าไร (กี่เท่าตัว หรือ กี่ dB) เราจะทดสอบกันในบทความนี้ <อ่านต่อ>


Cake-box Hotspot

นอกจากนักวิทยุสมัครเล่นจะเป็นผู้สนใจด้านการสื่อสาร การทดสอบทดลองต่างๆ แล้ว ยังสนใจในการประดิษฐ์ต่างๆ อีกด้วย ผลงานหลายอย่างเป็นด้านวิชาการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมมาก บางอย่างก็น้อยลง บางอย่างก็อาศัยความคิดสร้างสรร เป็นหลัก เช่นสิ่งประดิษฐ์ที่นำมาให้ชมในคราวนี้ <อ่านต่อ>


VSWR ของสายอากาศต้องเป็น 1.0:1 ถึงจะดี จริงหรือ

นักวิทยุหลายคนอาจจะถูกเล่าให้ฟัง หรือสอนสั่งมาว่า ค่าของ VSWR (Voltage Standing Wave Ratio) ในสายนำสัญญาณ (เอิ่ม... มันต้องอยูในสายนำสัญญาณ ที่มีความต้านทานจำเพาะหนึ่งๆ นะครับ อยู่ดีๆ สายอากาศจะมี VSWR ไม่ได้ด้วยซ้ำไป) ต่ำมากๆ หรือเป็น 1.0:1 เท่านั้นจึงจะดี บางคนถึงกับเอาสายอากาศมาวัดอิมพิแดนซ์ (แล้วแสดงออมาเป็นค่า VSWR) ว่าต่ำ แล้วบอกว่าสายอากาศนั้น "แรง" ก็มี ความเชื่อเหล่านี้ยังห่างไกลความถูกต้องไปมาก <อ่านต่อ>


ใช้สายอากาศไม่ตรงความถี่ได้หรือไม่

เราเคยได้ยินกันบ่อยว่า ต้องใช้สายอากาศให้ถูกความถี่ เคยสงสัยบ้างไหมว่าทำไมเป็นอย่างนั้น และที่จริงเรา "ต้อง" ใช้ให้ถูกความถี่หรือไม่ ถ้าไม่ถูกแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ถ้ามีสายอากาศอยู่อันหนึ่งแต่ไม่ตรงความถี่ เราจำเป็นต้องออกอากาศ เราจะนั่งมองมันเฉยๆ โดยไม่ใช้จริงๆ น่ะหรือ <อ่านต่อ>


เรื่องเล่าจากเพื่อนชาวอังกฤษ

นักวิทยุสมัครเล่น ทั้งค้นคว้าสิ่งใหม่ๆ และพัฒนาของที่มีอยู่เดิมให้นำมาใช้ในการสื่อสารได้ดีขึ้น การติดต่อด้วยเสียงพูดโหมดดิจิตอลก็เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่นักวิทยุสมัครเล่นนำการติดต่อด้วยวิทยุมาเชื่อมโยงเข้ากับอินเตอร์เน็ต ทำให้ติดต่อได้ทั่วโลก (ที่อินเตอร์เน็ทไปถึง) บางทีเราก็มีเพื่อนต่างชาติติดต่อเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกัน เช่นกรณีนี้เป็นต้น <อ่านต่อ>


สอบเพื่อรับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นผ่านแล้ว ทำอย่างไรต่อ

หลายท่านมีความสนใจในกิจการวิทยุสมัครเล่น อาจจะเพราะต้องการช่วยเหลือสังคม ต้องการศึกษาและทดลองเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ก็สมัครสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น (ขั้นต้น) แต่เมื่อสอบผ่านได้ ได้รับใบประกาศนียบัตรมาแล้ว อาจจะไม่ทราบว่าจะต้องทำอย่าง่ไรต่อไป บทความนี้จะไขข้อข้องใจให้ท่านได้ <อ่านต่อ>


นักวิทยุสมัครเล่นมือใหม่ ได้สัญญาณเรียกขานแล้ว จะเริ่มใช้งานอย่างไรดี

หลังจากท่านได้รับสัญญาณเรียกขานแล้ว นั่นหมายความว่าสามารถใช้งานเครื่องวิทยุ (ที่ถูกต้อง ณ สถานีที่ถูกต้อง) ในการออกอากาศได้ แต่ด้วยความที่ไม่เคยออกอากาศเลย ใจก็กล้านะ แต่ขายังสั่น จะทำอย่างไรดี มาดูข้อแนะนำที่ถูกต้องกันนะครับ <อ่านต่อ>


การใช้งานระบบ DSTAR ผ่านคอมพิวเตอร์ (ตอนที่ 3)

หลังจากบทความอันเข้มข้นสองเรื่องผ่านไป คราวนี้เรามาดูการใช้งาน BlueDV เชื่อมต่อ DSTAR แบบ AMBE Server โดยไม่ใช้สายต่อ OTG และช่อง USB ว่าต้องทำอะไรบ้าง <อ่านต่อ>


การใช้งานระบบ DSTAR ผ่านคอมพิวเตอร์ (ตอนที่ 2)

หลังจากได้แนะนำการเข้าสู่ระบบ DSTAR ด้วยคอมพิวเตอร์ (หรือโทรศัพท์มือถือ) กันไปแล้วใน ตอนที่ 1 คราวนี้เรามาดูว่าในการปรับตั้ง (configure) ระบบจริงๆ แล้วทำอย่างไร <อ่านต่อ>


การใช้งานระบบ DSTAR ผ่านคอมพิวเตอร์ (ตอนที่ 1)

นักวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ในการสื่อสาร สามารถออกแบบสิ่งใหม่ๆ ทั้งจากสิ่งที่ไม่เคยมีอยู่เลย จนกระทั่งนำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาผสมผสานกันจนเป็นวิธีการสื่อสารใหม่ๆ ได้ ระบบ DSTAR ก็เป็นระบบสื่อสารหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ แต่ด้วยความที่อุปกรณ์ยังคงมีราคาแพง นักวิทยุบางส่วนจึงอาจไม่พร้อมที่จะเป็นเจ้าของ แต่ยังมีทางเลือกคือการเข้าสู่ (access) ระบบนี้ได้โดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ (หรือโทรศัพท์มือถือ) <อ่านต่อ>


ข้อปฏิบัติของนักวิทยุสมัครเล่น (Code Of Conduct for ham operators)

การใช้งานวิทยุสื่อสาร สามารถมีผลกระทบได้ในวงกว้าง ทั้งกับนักวิทยุสมัครเล่นด้วยกันและประชาชนทั่วไป นอกจากนั้นกิจการที่ต้องใช้ความสามารถและเวลานี้ ยังอาจจะส่งผลกระทบกับตัวเองและบุคคลรอบข้างได้ หลักปฏิบัติตนที่ดีจะเป็นตัวช่วยทำให้ชีวิตการเป็นนักวิทยุมีความสุขและประสบผลสำเร็จได้ <อ่านต่อ>


มารู้จักวิทยุสื่อสารระบบ DSTAR กันเถอะ

เพื่อนหลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า DSTAR กันมาบ้าง พร้อมกับความรู้ว่ามันคือวิทยุแบบดิจิตอล แต่ก็คงสงสัยว่ามันคืออะไร ใครใช้ได้บ้าง เราใช้ได้หรือ และวิทยุระบบนี้ทำอะไรได้บ้าง และใช้งานอย่างไร มาหาคำตอบกันดีกว่าครับ <อ่านต่อ>


คำถามจากเพื่อนนักวิทยุ - เครื่องมือที่นักวิทยุสมัครเล่นควรมี

นักวิทยุสมัครเล่นได้ชื่อว่าเป็นผู้ชำนาญด้านการสื่อสาร และระบบสื่อสาร (เบื้องต้น) ด้วยเครื่องรับส่งวิทยุ จำเป็นต้องมีเครื่องมือตรวจวัดระบบวิทยุเพื่อป้องกันความเสียหายและให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ นอกจากเครื่องมือเบื้องต้น เช่น มัลติมิเตอร์ vswr meter แล้ว ยังมีอะไรอีกที่น่าสนใจ และมีเพื่อนของเราสอบถามมา <อ่านต่อ>


World Amateur Radio Day 2018

ในแต่ละกิจกรรม หรือกิจการ มักจะมีวันสำคัญของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่ทำต่อเนื่องกันมานานและเป็นประโยชน์ต่อสังคมทั่วไป  สำหรับกิจการวิทยุสมัครล่นก็เช่นเดียวกัน มีทั้งวันสำคัญในระดับท้องถิ่น ประเทศ และระดับนานาชาติ  <อ่านต่อ>


การขานสัญญาณเรียกขานที่ถูกต้อง

สัญญาณเรียกขานสำหรับนักวิทยุสมัครเล่น เป็นสิ่งที่บอกว่าเรามีสิทธิใช้เครื่องวิทยุในกิจการวิทยุสมัครเล่น (ภายใต้กฏหมายของประเทศนั้น) อย่างถูกต้อง ทั้งนี้สัญญาณเรียกขานมีความเฉพาะตัวโดยไม่ซ้ำกัน แต่จะคงความเฉพาะตัวได้ก็ต่อเมื่อต้องใช้อย่างถูกต้อง ไม่ครึ่งๆ กลางๆ <อ่านต่อ>


ติดต่อสถานี YB72RI แสดงความยินดีกับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

ประเทศอินโดนีเซีย กำลังฉลองรอบ 72 ปีของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (72nd Anniversary of The Republic of Indonesia) องค์กรวิทยุของประเทศก็ตั้งสัญญาณเรียกขานพิเศษ YB72RI/0 ถึง /9 เพื่อให้นักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลกติดต่อเข้าไประหว่างวันที่ 1-15 สิงหาคม 2560 (00:00 UTC ถึง 23:59 UTC) <อ่านต่อ>


การหาตำแหน่ง Grid Location ของตำแหน่งต่างๆ บนโลก

การหาตำแหน่ง Grid Location ของตำแหน่งต่างๆ บนโลก
ในหลายโอกาสเราจำเป็นต้องทราบตำแหน่งของเราในรูปแบบของกริดมาตรฐาน แต่นักวิทยุหลายท่านอาจจะไม่ทราบว่าจะหาตำแหน่งดังกล่าวนี้อย่างไร เราเลยนำวิธีการมาให้เพื่อนๆ ได้ลองทำตามเพื่อหาตำแหน่ง Grid Location ของตำแหน่งที่ท่านสนใจ <อ่านต่อ>


การป้องกันฟ้าผ่าสำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่น

การป้องกันฟ้าผ่าสำหรับนักวิทยุสมัครเล่น

สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นแล้ว เรียกได้ว่าแทบไม่มีอะไรน่ากลัวไปกว่าการที่สถานีของตัวเอง (หรือสายอากาศของตัวเอง) ถูกรามสูรขว้างขวานลงมา หรือเรียกง่ายๆ ว่าถูกฟ้าผ่านั่นแหละครับ การที่ฟ้าผ่าแต่ละครั้งมักทำอันตรายกับทั้งอุปกรณ์ต่างๆ ของเรา นอกจกนั้นอาจจะทำอันตรายกับชีวิตเราได้อีก ช่วงนี้ก็เข้าหน้าฝนแล้ว มาดูกันว่าเราสามารถป้องกัน (ลดอันตราย) จากฟ้าผ่าลงได้อย่างไร <อ่านต่อ>



นักวิทยุสมัครอะไร

วิทยุสมัครอะไร
หลายสิบปีที่แล้ว เราอาจจะมองวิทยุสมัครเล่นเป็นวิธีการหนึ่งในการติดต่อกันระหว่างกลุ่มบุคคลที่เป็นนักวิทยุสมัครเล่นด้วยกัน แต่ในปัจจุบันนี้เรามีเครื่องมือสื่อสารส่วนบุคคลกันอย่างแพร่หลาย สะดวกรวดเร็ว สบายกว่า ทำอะไรๆ ได้มากกว่าวิทยุสื่อสาร แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีบุคคลจำนวนมากต้องการเป็นนักวิทยุสมัครเล่น ทำไมล่ะ <อ่านต่อ>


เก็บมาเล่า V กับ Q ออกเสียงว่าอย่างไร

วันนี้พอจะมีเวลาว่างเลยขอเขียนเล่าเรื่องเกี่ยวกับการออกเสียงตัวอักษรโฟเนติกของอักษร V และ Q ที่มักเป็นที่สนทนากันว่าที่จริงแล้วออกเสียงอย่างไร้ได้บ้าง นับว่าน่าสนใจเลยทีเดียว <อ่านต่อ>


วิทยุสื่อสารที่ได้รั​บการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาต

เราทราบกันดีว่าในประเทศไทยนั้น วิทยุสื่อสารหรืออุปกรณ์ซึ่งทำงานเกี่ยวข้องกับสัญญาณวิทยุ ถูกควบคุมการครอบครองและใช้งานอย่างเข้มงวด แต่วันเวลาผ่านไป เทคโนโลยีเปลี่ยนไป ประชาชนในโลกก็ใช้งานอุปกรณ์ที่ทำงานกับสัญญาณวิทยุกันอย่างกว้างขวาง <อ่านต่อ>


ความถี่สถานีทวนสัญญาณและโทนในแต่ละพื้นที่

สถานีทวนสัญญาณมีประโยชน์มากสำหรับการติดต่อด้วยคลื่นวิทยุความถี่ย่าน VHF ที่ปกติแล้วมีระยะทางที่จำกัด ไม่สามารถสะท้อนชั้นบรรยากาศได้ และยิ่งไม่สามารถทะลุผ่านส่วนโค้งของโลกได้ มาดูกันว่าในประเทศไทยเรามีสถานีทวนสัญญาณที่ไหน ความถี่เท่าไร ความถี่โทนเท่าไรบ้าง <อ่านต่อ>


ชื่ออะไรหรือครับ

ชื่ออะไรหรือครับ
วิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการสากล นักวิทยุในแต่ละประเทศก็อาจจะมีธรรเนียมปฏิบัติที่แตกต่างกันไป การถามชื่ออาจจะเป็นเรื่องแปลกของที่หนึ่ง แต่อาจจะเป็นเรื่องปกติธรรมดาของที่อื่นๆ ก็ได้ <อ่านต่อ>


กิจการวิทยุสมัครเล่นคืออะไร

กิจการวิทยุสมัครเล่นคืออะไร
หลายคนอาจจะเคยได้ยินเรื่องของนักวิทยุสมัครเล่นมาแล้ว อาจจะเข้าใจหรือมองภาพเกี่ยวกับนักวิทยุในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งอาจจะเกินหรือขาดจากความเป็นจริงไปบ้าง ลองดูกันว่าประวัติของกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทยมีความเป็นมาอย่างไร และบุคคลที่เรียกว่านักวิทยุสมัครเล่นนั้นเป็นใคร และทำอะไรกันบ้าง <อ่านต่อ>