วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ความถี่สถานีทวนสัญญาณและโทนในแต่ละพื้นที่


สำหรับเพื่อนๆ ที่ใช้ความถี่วิทยุสมัครเล่นในย่าน VHF (144.000-146.000 MHz) แล้ว ระยะทางในการติดต่อจะเป็นระยะสายตา เรียกว่าจะต้องไม่โดนส่วนโค้งของโลกบังเอาไว้ ถ้าระยะทางไกลกว่านั้นการติดต่อจะหวังผลไม่ได้ วิธีแก้ไขอย่างหนึ่งคือการใช้ระบบทวนสัญญาณ (repeater) ซึ่งในปัจจุบันมีการติดตั้งสถานีทวนสัญญาณในหลายจังหวัด และกำหนดความถี่ใช้งานไว้เป็นการเฉพาะ สำหรับในประเทศไทยจะใช้ระบบ "duplex ลบ 600KHz" นั่นหมายความว่า เมื่อเรารับฟังจะรับฟังสัญญาณจากสถานีทวนสัญญาณที่ความถี่หนึ่ง แต่ขณะที่เราออกอากาศไปยังสถานีทวนสัญญาณ เครื่องส่งของเราจะส่งที่ความถี่ต่ำกว่าตอนที่เรารับฟัง 600KHz และสถานที่ทวนสัญญาณก็จะรับสัญญาณจากเครื่องของเราที่ความถี่ต่ำกว่าตอนที่เรารับฟัง 600KHz นั้นไปออกอากาศที่ความถี่สูงกว่าที่มันรับได้ 600KHz ส่งไปยังเพื่อนๆ คนอื่นที่กำลังเปิดเครื่องรับฟังอยู่

ในระยะหลัง มีการป้องกันการรบกวนการเปิดช่องสถานีทวนสัญญาณที่ไม่ได้ตั้งใจ จึงมีการใช้ "ระบบโทน" หรือ CTCSS TONE (Continuous Tone-Coded Squelch System บางทีอาจจะเรียกว่า โทนสเควลช์ ก็ได้) เข้ามาช่วย ในขณะที่เราออกอากาศ เครื่องจะส่งสัญญาณโทนออกไปพร้อมกับเสียงพูดของเรา เครื่องรับก็จะเฝ้ามองว่ามีสัญญาณความถี่โทนนี้ปนมาร่วมกับสัญญาณเสียงหรือไม่ ถ้ามีสัญญาณโทนที่ถูกต้องตรงกันจึงจะปล่อยผ่านเสียง (ภาษาเราเรียกว่า "เปิดสเควลช์") ให้ใช้งาน หรือในกรณีของสถานีทวนสัญญาณก็คือให้ระบบทวนสัญญาณทำงานได้นั่นเอง

- - - - - - - Update 5 เมษายน 2562 - - - - - - -
ขอบคุณข้อมูลจาก กสทช.







- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ขอบคุณข้อมูลจากกลุ่มเพื่อน 79 บางสะพาน และ E24OMY

 
 
 
 
 
 
 
 
 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
หมายเหตุ
บางพื้นที่อาจจะยังไม่ใส่โทน แต่ถ้าจะใส่/ใช้ระบบโทนก็คาดว่าจะใช้ตามในภาพ

เพิ่มเติม
บางครั้ง ข้อมูลรีพีทเตอร์ มีการเพิ่มเติม เราก็จะนำมาใส่เอาไว้ก่อน ให้เพื่อนๆ ได้ค้นหาแล้วลองทดสอบใช้ดู ก่อนที่จะสูญหายไป ถ้าไม่ถูกต้องอย่างไร ตรงไหน สามารถแจ้งได้นะครับ ขอขอบคุณ HS0AB ศูนย์สายลม สำหรับข้อมูลด้านล่างนี้นะครับ





ต้องขอขอบคุณทั้งต้นฉบับและทุกท่านครับ
QRU 73 de HS0DJU/KG5BEJ