ในบทความที่แล้ว (การสูญเสียกำลังในสายนำสัญญาณ (ตอนที่ 1)) เราได้ทราบว่าสายนำสัญญาณนั้นมีการสูญเสียพลังงานหรือกำลังของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มันส่งผ่านจากปลายข้างหนึ่งไปยังปลายอีกข้างหนึ่ง และรู้ว่าการสูญเสียนั้นมาจากส่วนใดบ้าง บาทคราวนี้เราจะมาดูว่าสายนำสัญญาณ ชนิดที่เราใช้กันบ่อยๆ ทีการสูญเสียเท่าใดและเราจะคำนวณมาได้อย่างไร
ธรรมชาติของการสูญเสียในสายนำสัญญาณกับความยาว
ถ้าเราวาดกราฟความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานที่เหลืออีกด้านหนึ่งของสายนำสัญญาณและความยาวของสายนำสัญญาณ เราจะเห็นเป็นเส้นโค้ง ตามภาพที่ 1
ภาพที่ 1 พลังงานที่เหลือจาก
สายนำสัญญาณที่ความยาวต่างๆ
สาเหตุที่ ความสัมพันธ์นี้มีลักษณะเป็นเส้นโค้งเพราะการสูญเสียเป็นสัดส่วนของพลังงานตั้งต้นกับความยาวของสายนำสัญญาณ พลังงานจะลดลงเรื่อยๆ แต่เป็นไปไม่ได้ที่พลังงานจะลดลงจนเป็นศูนย์
วิดิโอ 1 ความสัมพันธ์ระหว่าง
พลังงานที่เหลือกับความยาว
ของสายนำสัญญาณเป็นเส้นโค้ง
การสูญเสียกำลังในสายนำสัญญาณชนิดต่างๆ
ตารางที่ 1 แสดงความสูญเสียในสายนำสัญญาณชนิดต่อความยาว 100 เมตร ซึ่งจะเห็นได้ว่าถ้าสายนำสัญญาณมีขนาดใหญ่ขึ้นการสูญเสียก็จะน้อยลง แต่เมื่อความถี่สูงขึ้นการสูญเสียจะมากขึ้น
ตารางที่ 1 การสูญเสียในสายนำสัญญาณ
แต่ละชนิดที่ความถี่ต่างๆ (MHz)
ต่อความยาว 100 เมตร
ค่าที่เป็น dB คืออะไร
จากตัวเลขอัตราการสูญเสียกำลังในสายนำสัญญาณมักบอกเป็น dB ซึ่งเป็นวิธีบอกอย่างหนึ่ง เพราะที่จริงจะบอกเป็นร้อยละหรือสัดส่วนก็ได้เหมือนกัน ตัวเลขที่เป็น dB เป็นการเปรียบเทียบระหว่างกำลังไฟฟ้าขาเข้าที่ปลายด้านหนึ่งกับกำลังไฟฟ้าขาออกของสายนำสัญญาณที่ยาว 100 เมตร คำนวณได้ดังนี้
การสูญเสีย (Loss) = 10 ∙ log (กำลังขาเข้า / กำลังขาออก) (หน่วย dB)
ตัวอย่างเช่น ถ้า กำลังขาเข้าคือ 10 วัตต์และขาออกเป็น 5 วัตต์ จะคำนวณการสูญเสียได้เป็น
Loss = 10 ∙ log (10/5) ≈ 3dB / ความยาว 100 เมตร
เราสรุปการสูญเสียในหน่วย dB และอัตราส่วน ได้ตามตารางที่ 2 ซึ่งจะเห็นว่าทุก 3 dB ที่เพิ่มขึ้นการสูญเสียจะมากขึ้น 2 เท่าตัว
ตารางที่ 2 การสูญเสียในหน่วย
dB และอัตราส่วนการสูญเสีย
การสูญเสียในสายนำสัญญาณที่ความยาวต่างๆ
แล้วถ้าสายนำสัญญาณยาวไม่พอดี 100 เมตรล่ะ เราจะคำนวณอย่างไร ถ้าเราคำนวณแบบเชิงเส้นจะค่อนข้างยุ่งยาก แต่ถ้าคำนวณแบบลอกการึธึมจะง่ายขึ้น (นี่คงเป็นเหตุผลหลักที่บอกความสูญเสียในหน่วย dB)
ตัวอย่างที่ 1
ถ้าสายนำสัญญาณยาวกว่า 100 เมตร คำนวณอย่างไร
เช่น สายนำสัญญาณที่มีอัตราการสูญเสีย 3dB/100 เมตร แล้วยาว 150 เมตร จะสูญเสียเป็น
(150/100) ⨯ 3dB = 4.5dB
ลองคำนวณการสูญเสียดู
นั่นคือ ถ้าป้อนกำลังส่งเข้าที่ด้านหนี่งของสายนำสัญญาณ 10 วัตต์ จะได้กำลังขาออกเป็น 10/2.818 = 3.54 วัตต์
(ถ้าใช้เครื่องคิดเลขฟังก์ชั่น anti-logarithmic คือ 10X ดูวิดิโอ 2)
ตัวอย่างที่ 2
สายนำสัญญาณที่สูญเสีย 4.5dB/100 เมตร ยาว 15 เมตร จะสูญเสียเป็น
(15/100) x 4.5 = 0.675dB
จากนั้น คำนวณการสูญเสีย
Loss = 10(0.675/10) = 100.0675 = 1.168 เท่าตัว
แบบที่ 2: ตั้งต้นด้วย Pout / Pin ก็เป็นวิธีมาตรฐานที่เข้าใจกันด้านเทคนิคอีกแบบหนึ่ง
สำหรับท่านที่ต้องการทราบที่มาของการคำนวณด้านบน แนะนำให้อ่านเรื่อง ทำไมอัตราสูญเสียกำลังในสายนำสัญญาณจึงบอกเป็น dB/ความยาว ประกอบ
หลังจากนี้ เพื่อนๆ ก็จะสามารถคำนวณการสูญเสียในสายนำสัญญาณได้ถูกต้องแล้วนะครับ พบกันใหม่ในบทความหน้านะครับ
73 DE HS0DJU (จิตรยุทธ จุณณะภาต)
จากที่เรารู้ว่า
Loss (หน่วย dB) = 10 ∙ log (กำลังขาเข้า / กำลังขาออก)
4.5 = 10 ∙ log (กำลังขาเข้า / กำลังขาออก)
0.45 = log (กำลังขาเข้า / กำลังขาออก)
(กำลังขาเข้า / กำลังขาออก) = log-1 0.45
โดย log-1 เป็นฟังก์ชั่น anti-logarithmic (เรียกสั้นๆ ว่า แอนตี้-ล็อก) เป็นฟังก์ชั่นที่คำนวณกลับทางกับ log ทำนองเดียวกันกับการหารเป็นสิ่งที่กลับทางกับการคูณนั่นแหละครับ
เวลากดเครื่องคิดเลขหา log-1 ต้องกด 10X ดังนั้น
(กำลังขาเข้า / กำลังขาออก) = log-1 0.45 = 10(4.5/10) = 100.45 = 2.818
นั่นคือ ถ้าป้อนกำลังส่งเข้าที่ด้านหนี่งของสายนำสัญญาณ 10 วัตต์ จะได้กำลังขาออกเป็น 10/2.818 = 3.54 วัตต์
(ถ้าใช้เครื่องคิดเลขฟังก์ชั่น anti-logarithmic คือ 10X ดูวิดิโอ 2)
วิดิโอ 2 การใช้เครื่อง
คิดเลขเพื่อหา anti-log
ตัวอย่างที่ 2
สายนำสัญญาณที่สูญเสีย 4.5dB/100 เมตร ยาว 15 เมตร จะสูญเสียเป็น
(15/100) x 4.5 = 0.675dB
จากนั้น คำนวณการสูญเสีย
Loss = 10(0.675/10) = 100.0675 = 1.168 เท่าตัว
นั่นคือ ถ้าป้อนกำลังส่งเข้าที่ด้านหนี่งของสายนำสัญญาณ 10 วัตต์ จะได้กำลังขาออกเป็น 10/1.168 = 8.56 วัตต์
ตัวอย่างที่ 3
ตัวอย่างนี้เป็นการเปรียบเทียบการคำนวณสองรูปแบบ ว่าเราจะเอา Pin / Pout หรือ Pout / Pin เป็นตัวตั้งต้นในการทำ log
ตัวอย่างที่ 3
ตัวอย่างนี้เป็นการเปรียบเทียบการคำนวณสองรูปแบบ ว่าเราจะเอา Pin / Pout หรือ Pout / Pin เป็นตัวตั้งต้นในการทำ log
แบบที่ 1: ตั้งต้นด้วย Pin
/ Pout เป็นแบบที่ทำที่ผ่่านมา แต่ยกมาอธิบายรายละเอียดอีกครั้ง
Loss = 10 ∙ log ( Pin / Pout ) หน่วย dB
ซึ่ง Pin / Pout ≥ 1 ทำให้ log ( Pin / Pout ) ≥ 0 (เราจะคิดง่ายๆ ว่าเป็นบวกก็ได้)
เช่น Loss เป็น 4.92 dB/100 m
10 ∙ log ( Pin / Pout ) = 4.92 <-- เป็นค่าบวก
log ( Pin / Pout ) = 0.492
Pin / Pout = log-1 0.492 = 10(0.492) = 3.104
นั่นคือ
Pin / Pout = 3.104 หรือ Pin = 3.104 ∙ Pout -------------- (ก)
หรือ Pout = Pin / 3.104 หรือ Pout = 0.322 ∙ Pin ---- (ข)
แบบที่ 2: ตั้งต้นด้วย Pout / Pin ก็เป็นวิธีมาตรฐานที่เข้าใจกันด้านเทคนิคอีกแบบหนึ่ง
Loss = 10 ∙ log ( Pout / Pin ) หน่วย dB
แต่คราวนี้ Pout / Pin ≤ 1 ทำให้ log ( Pout / Pin ) ≤ 0 (เรียกง่ายๆ ว่าติดลบก็ได้)
ดังนั้นเราต้องให้เครื่องหมายลบหรือ negative ( - ) ไว้ล่วงหน้าเลย เช่น
เช่น Loss เป็น 4.92 dB/100 m
10 ∙ log ( Pout / Pin ) = - 4.92 <-- ใส่ค่าลบไว้รอเลย
log ( Pout / Pin ) = - 0.492
Pout / Pin = log-1 (- 0.492) = 10(-0.492) = 0.322
นั่นคือ
Pout / Pin = 0.322 หรือ Pout = 0.322 ∙ Pin -------------- (ค)
หรือ Pin = Pout / 0.322 หรือ Pin = 3.104 ∙ Pout ----- (ง)
จะเห็นว่าสมการ (ก) (ข) (ค) (ง) ให้ผลอย่างเดียวกันนั่นเอง
สำหรับท่านที่ต้องการทราบที่มาของการคำนวณด้านบน แนะนำให้อ่านเรื่อง ทำไมอัตราสูญเสียกำลังในสายนำสัญญาณจึงบอกเป็น dB/ความยาว ประกอบ
หลังจากนี้ เพื่อนๆ ก็จะสามารถคำนวณการสูญเสียในสายนำสัญญาณได้ถูกต้องแล้วนะครับ พบกันใหม่ในบทความหน้านะครับ
73 DE HS0DJU (จิตรยุทธ จุณณะภาต)