วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ช่วงความถี่ของวิทยุสมัครเล่น (Amateur Radio Band Plan)

การจัดสรรความถี่สำหรับ
นักวิทยุสมัครเล่นในประเทศ
สหรัฐอเมริกา (คลิกเพื่อดูภาพขยาย)


สำหรับนักวิทยุขั้นต้นในประเทศไทยแล้ว เราได้รับอนุญาตให้ใช้งานในช่วงความถี่แคบๆ คือ 144.000 - 147.000 MHz (ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและกำกับดูแลกิจการวิทยุสมัครเล่น (ฉบับที่ ๒) วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐) และในช่วงความถี่นี้เองก็ถูกกำหนดให้ใช้งานให้ถูกต้องอีกด้วย ตามด้านล่างนี้ (ซึ่งจะเห็นว่าช่องความถี่ที่เราใช้เสียงในโหมด FM กับสถานีภาคพื้นดินโดยตรงได้คือตัวหนังสือสีดำ) เวลาเพื่อนๆ จะใช้ความถี่ก็ต้องดูให้ดีนะครับ จะได้ไม่ผิดระเบียบและข้อกฏหมาย

การจัดสรรความถี่ย่าน 2 เมตร
ในประเทศไทย *
(คลิกเพื่อดูภาพขยาย)

* ขอบคุณภาพประกอบโดย คุณสิปปภาส นิพนธ์กิจ (E24MTA)

การใช้คลื่นความถี่ 144 – 147 MHz สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นไทย
  • 144.0000 - 144.1000 MHz  สำหรับ CW / EME
  • 144.0500 MHz  ช่องเรียกขาน CW
  • 144.1000 - 144.1500 MHz สำหรับ CW / MGM / EME
  • 144.1500 - 144.3750 MHz สำหรับ SSB / MS
  • 144.2000 MHz  ช่องเรียกขาน SSB
  • 144.3900 MHz  Automatic Packet Reporting System : APRS
  • 144.4125 - 144.4375 MHz สำหรับ Data or Packet radio / RTTY / Image / SSTV / MCW
  • 144.4500 - 144.4900 MHz สำหรับ Beacon
  • 144.4900 MHz สำหรับ Beacon แบบ WSPR
  • 145.8000 - 146.0000 MHz สำหรับการรับส่งสัญญาณระหว่างดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นกับสถานีวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น
  • 144.5125 - 144.8875 MHz การติดต่อสื่อสารประเภทเสียงแบบซิมเพล็กซ์ (Simplex)
  • 144.9000 MHz การติดต่อสื่อสารประเภทเสียงแบบซิมเพล็กซ์ (Simplex) สำหรับเรียกขานและแจ้งเหตุทั่วไป
  • 144.9125 - 144.9875 MHz การติดต่อสื่อสารประเภทเสียงแบบซิมเพล็กซ์ (Simplex)
  • 145.0000 MHz การติดต่อสื่อสารประเภทเสียงสำหรับเรียกขานและแจ้งเหตุฉุกเฉิน (Emergency, Distress and Calling) และเป็นคลื่นความถี่กลางสำหรับประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐและพนักงานวิทยุสมัครเล่น
  • 145.1375 - 145.4375 MHz การติดต่อสื่อสารประเภทเสียงแบบซิมเพล็กซ์ (Simplex)
  • 145.4500 - 145.4875 MHz การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง / กิจกรรมพิเศษ
  • 145.5000 - 145.5375 MHzการติดต่อสื่อสารประเภทเสียงแบบซิมเพล็กซ์ (Simplex)
  • 145.5500 - 145.6000 MHz การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง และ หรือข้อมูลโดยเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่น
  • 145.7375 - 145.7875 MHz การติดต่อสื่อสารประเภทเสียงโดยเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่น
  • 146.2125 - 146.2375 MHz การติดต่อสื่อสารประเภทเสียงและ/หรือข้อมูล โดยเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่น
  • 146.2500 - 146.2750 MHz การติดต่อสื่อสารประเภทเสียงโดยเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่น
  • 146.2875 - 147.0000 MHz การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
  • ความถี่สถานีทวนสัญญาณ มี 21 คู่ ดังนี้
ความถี่รับ 145.0125 / ความถี่ส่ง 145.6125 MHz (ปัจจุบัน ตุลาคม 2561 ใช้สำหรับระบบ DSTAR)
ความถี่รับ 145.0250 / ความถี่ส่ง 145.6250 MHz
ความถี่รับ 145.0375 / ความถี่ส่ง 145.6375 MHz
ความถี่รับ 145.0500 / ความถี่ส่ง 145.6500 MHz
ความถี่รับ 145.0625 / ความถี่ส่ง 145.6625 MHz
ความถี่รับ 145.0750 / ความถี่ส่ง 145.6750 MHz
ความถี่รับ 145.0875 / ความถี่ส่ง 145.6875 MHz
ความถี่รับ 145.1000 / ความถี่ส่ง 145.7000 MHz
ความถี่รับ 145.1125 / ความถี่ส่ง 145.7125 MHz
ความถี่รับ 145.1250 / ความถี่ส่ง 145.7250 MHz
ความถี่รับ 146.0125 / ความถี่ส่ง 146.6125 MHz
ความถี่รับ 146.0250 / ความถี่ส่ง 146.6250 MHz
ความถี่รับ 146.0375 / ความถี่ส่ง 146.6375 MHz
ความถี่รับ 146.0500 / ความถี่ส่ง 146.6500 MHz
ความถี่รับ 146.0625 / ความถี่ส่ง 146.6625 MHz
ความถี่รับ 146.0750 / ความถี่ส่ง 146.6750 MHz
ความถี่รับ 146.0875 / ความถี่ส่ง 146.6875 MHz
ความถี่รับ 146.1000 / ความถี่ส่ง 146.7000 MHz
ความถี่รับ 146.1125 / ความถี่ส่ง 146.7125 MHz
ความถี่รับ 146.1250 / ความถี่ส่ง 146.7250 MHz
ความถี่รับ 146.1375 / ความถี่ส่ง 146.7375 MHz

ความถี่อื่นๆ สำหรับวิทยุสมัครเล่น (ขั้นกลางและสูง)

ที่จริงในโลกนี้ยังมีการจัดสรรความถี่สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นยังอีกมาก ซึ่งจัดสรรต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของโลกด้วย ในประเทศไทยเราอยู่ในภูมิภาคที่ 3 เราก็จะใช้ความถี่ตามการจัดสรรที่แตกต่างออกไปจากภูมิภาคอื่น อย่างไรก็ตามในประเทศไทยก็ยังมีความแตกต่างจากภูมิภาค 3 ตามปกติด้วย ดังนี้

กิจการหลักในประเทศไทย
1 800 – 1 825 kHz
3 500 – 3 540 kHz
3 540 – 3 600 kHz
7 000 – 7 200 kHz
14 000 – 14 250 kHz
14 250 – 14 350 kHz
18 068 – 18 168 kHz
21 000 – 21 450 kHz
24 890 – 24 990 kHz
28 000 – 29 700 kHz
144 – 147 MHz
24 – 24.05 GHz
47 – 47.2 GHz
77.5 – 78 GHz
134 – 136 GHz
248 – 250 GHz

กิจการรองในประเทศไทย
135.7 – 137.8 kHz
472 – 479 kHz
1 825 – 2 000 kHz 
10 100 – 10  150 kHz
50 – 54 MHz (ดู หมายเหตุ1 ด้านล่าง)
430 – 440 MHz (ดู หมายเหตุ2 ด้านล่าง)
1 240 – 1 300 MHz
2 400 – 2 450 MHz
3 300 – 3 400 MHz
3 400 – 3 500 MHz
5 650 – 5 725 MHz
5 725 – 5 830 MHz
5 830 – 5 850 MHz
10 – 10.45 GHz
10.45 – 10.5 GHz
24.05 – 24.25 GHz
76 – 77.5 GHz
78 – 79 GHz
79 – 81 GHz
81 – 81.5 GHz
122.25 – 123 GHz
136 – 141 GHz
241 – 248 GHz

หมายเหตุ
1) ยังไม่อนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 50 – 54 เมกะเฮิรตซ์ ในกิจการวิทยุสมัครเล่นจนกว่าผลการศึกษาการใช้งานคลื่นความถี่ร่วมกันระหว่างกิจการ และการแก้ไขเชิงอรรถระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องจะแล้วเสร็จ
2) ความถี่ย่าน 430-440MHz อนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะภาครับ
3) ให้ศึกษาจากประกาศ ระเบียบ ราชกิจจานุเบกษา อีกครั้งหนึ่งเสมอ

ส่วนที่ของไทยเราแตกต่างจากมาตรฐานภูมิภาคที่ 3
1 800 – 2 000 KHz ของภูมิภาคที่ 3 เป็นกิจการหลักทั้งหมด ของไทยจะไม่เต็มทั้งหมด
3 500 – 3 900 KHz ของภูมิภาคที่ 3 เป็นกิจการหลักทั้งหมด (ของไทย 3 500 - 3 600 KHz เท่านั้น) 
144 – 148 MHz  ของภูมิภาคที่ 3 เป็นกิจการหลัก (ของไทย 144-147 MHz เท่านั้น)
2 300 – 2 450 MHz ของภูมิภาคที่ 3 เป็นกิจการรอง (รวมช่วง 2 300 - 2 400 MHz ด้วย)


ถ้าเพื่อนๆ นักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นอยากใช้งานความถี่ย่านอื่นนอกจากย่านความถี่ 2 เมตร ก็สามารถติดต่อเพื่อนๆ ในชมรมได้นะครับว่าจะทดลองออกอากาศได้อย่างไร ขอบคุณครับ