อย่างไรก็ตามในไทยเรา เพื่อเป็นการเชิญชวนเพื่อนๆ ให้มาร่วมกิจกรรมกันมาก เราจึงจำกัดการใช้ความถี่อยู่ในย่าน “ขั้นต้น” (ยกเว้นระบบทวนสัญญาณและเชื่อมโยงเครือข่ายอื่น) ซึ่งจะทำให้มีเพื่อนๆ จำนวนมากเข้าร่วมสนุกได้ นอกจากนั้นยังมีการคิดคะแนนและให้รางวัลกับผู้ที่ทำการติดต่อได้มากและไกลที่สุดด้วย ก็เรียกว่าไม่เหมือนใครเขาหรอกครับ แต่ก็ไม่ได้เสียหายหรือผิดระเบียบ จรรยาบรรณของนักวิทยุสมัครเล่นแต่อย่างใด
ในคราวนี้ ชมรม The DXER (Thailand) สัญญาณเรียกขาน E20AE เข้าร่วมกิจกรรมนี้ด้วย โดยอยู่ใน Class G (ชมรม ผู้ออกออกอากาศหลายคน ใช้กำลังส่งสูง) เพื่อนๆ ก็คอยช่วยลุ้นด้วยนะครับ โดยสิ่งแลกเปลี่ยนที่จะต้องแจ้งให้คู่สถานีทราบคือ
1. สัญญาณเรียกขาน
2. รายงานสัญญาณ (RS หรือ RST ถ้าเป็นโหมด CW)
3. Class ของตัวเอง
4. QTH ในรูปแบบกริดโลเคชั่น (Grid Location)
เป็นต้น
กฏกติกาในการแข่งขัน
https://sites.google.com/view/thailand-field-day-contest
--- รวมภาพระหว่างการแข่งขัน ---
เพื่อนสมาชิกในทีม ทะยอย
มายังสถานี ก่อนการแข่งขัน
ไม่มีใครถ่ายภาพให้ ถ่ายเองก็ได้
น้องกิ้ก บุษบา (E24YJQ)
ว่าไว้แบบนั้นไหมก็ไม่แน่ใจ
ในทีมก็มี YL เข้าแข่งด้วยนะ
อากาศดีไหมไม่แน่ใจ แต่ติดต่อ
เพื่อนๆ ได้ 13 Grid มากกว่า
ปีที่แล้วตั้ง 1 Grid แน่ะ
ระหว่างการแข่งขัน ชมรม
The DXER (E20AE) ปล่อย
สัญญาณ APRS ระบุตำแหน่งด้วย
ขอขอบคุณเพื่อนๆ ทุกสถานี ทั้งที่ร่วมแข่งขัน และไม่ได้ร่วมแข่งขัน แต่ร่วมกิจกรรมคือ ช่วยตอบการ CQ ทั้งตอบของชมรม The DXER และตอบเพื่อนๆ นะครับ เพราะทำให้กิจกรรมครึกครื้นขึ้น (วิทยุสมัครเล่น เล่นคนเดียวไม่ได้ ต้องมีเพื่อนเยอะๆ ล่ะครับ)
แล้วมาสนุกันใหม่ในปีต่อไปนะครับ ขอบคุณมากครับ