วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

กิจกรรมและประชุมประจำเดือน กรกฎาคม 2563


แล้วเราก็พบกันเช่นเคย กับกิจกรรมและประชุมชมรม ประจำเดือนกรกฎาคม 2563 ครั้งนี้มีเพื่อนๆ เดินทางไกลมาเยี่ยมเยียนและทำกิจกรรมร่วมกันด้วย ต้องขอขอบคุณทุกท่านด้วย และหวังว่าจะมาเจอกันทุกๆ ครั้งเลยนะครับ
สำหรับกิจกรรมที่ทำในเดือน กรกฎาคม น่าสนใจหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็น
- การปรับแต่ง ซ่อม สร้างสายอากาศ
- การใช้ BFO (Beat Frequency Oscillator) ภายนอกเพื่อทำให้เครื่องวิทยุ AM ธรรมดารับสัญญาณ CW ได้
- พูดคุยเรื่อง Array Factor ที่ทำให้ระบบสายอากาศมีทิศทาง (และเกนหรืออัตราขยาย) ขึ้นได้
- ทดสอบใช้งานเครื่องรับแบบ SDR เพื่อรับสัญญาณจากดาวเทียม และอื่นๆ
- ติดตั้งสายอากาศแบบ Log Periodic เพื่อรับสัญญาณจากดวงดาวต่างๆ

เพื่อนๆ มาเล่นกันแต่เช้า
นำการซ่อมสร้างสายอากาศโดย
ลุงตุ้ม (HS1DNG) เช่นเคย

นี่ๆ มันต้องบัดกรีแบบนี้ มันถึงจะแน่น

ทำเสร็จก็ทดลองวัด ทดสอบกัน

มีวิทยุ AM ธรรมดาๆ ก็สนุกได้
นักวิทยุสมัครเล่น สามารถทดสอบการ
"รับ" โดยไม่ส่งในความถี่นั้นๆ (ที่ไม่
ขัดต่อกฏหมาย) ก็ได้นะครับ

ไหนๆ ลองปรับหน่อยสิ
คุณตี๋ (E24MTA) กำลังทดลอง
ปรับแต่งอุปกรณ์ช่วยรับสัญญาณ
ความถี่คลื่นสั้น

เอา SDR หรือ Software Defined
Radio มาเล่นกันดีกว่า ออกมานอกบ้าน
จะได้สูดอากาศบ้าง

ส่วนมากแล้ว SDR จะต้องทำงานร่วมกับ
คอมพิวเตอร์ จะตัวเล็กตัวใหญ่ก็ไม่ค่อย
เลือกเท่าไร กรณีนี้เอามาต่อกับ notebook

ทางไหนเนี่ย อันนี้ใช่ไหม หรือวิทยุ จส.100
 
แรงยังดี แดดก็ดี ฝนยังไม่ตก มาตั้งสถานี
HF นอกบ้าน กันดีกว่า ดูว่ารับอะไรได้บ้าง

เอาสายอากาศสั้นๆ แค่นี้แหละ
แรงจริง เก่งจริง ต้องมาให้เรารับได้สิ ฮ่าๆ

วิทยุพร้อม แบตเตอรี่พร้อม
สายอากาศยังไม่พร้อม

ได้ยิน CQ แว่วๆ นะเนี่ย
คุณเจต (E22MAL) ว่าแบบนั้น
(หูแว่วหรือเปล่า)

หมดแรง ย้ายจากนอกบ้านเข้าบ้านกันดีกว่า

คุณอ๊อด (HS0DJU) ตั้งวงอธิบาย
เรื่องของ Array Pattern ที่เกิดจากการ
เอาสายอากาศหลายต้นมาต่อร่วมกัน

นี่ๆ แบบนี้ พอต่อถูกตำแหน่ง ป้อนสัญญาณ
ให้เฟสมันถูกต้อง ก็จะได้ array pattern
แบบนี้ พอเอาไปคูณกับ element pattern
ก็ได้ pattern รวมของระบบสายอากาศนั้น
ถ้าทำดี ก็จะได้เกนเพิ่มขึ้นด้วยนะเอ้า
 
แล้วไอ้แมงมุมของเรา น้องโอ๊ต
(E24RBU) ก็ปีนขึ้นเสาอากาศ
เอาสายอากาศ Log Periodic ที่เรา
สร้างกันไว้ตั้งแต่ปีมะโว้ ขึ้นติดตั้ง

สายอากาศถูกออกแบบมาใช้รับ
สัญญาณในช่วง 150-450 MHz
แต่อะไรที่เกินเลยกว่านั้นก็พอรับได้อยู่

ไม่ต้องสูงมาก เพราะมันใชัรับสัญญาณจาก
ดาวต่างๆ สูงยังไงก็ไม่ใกล้ดาวไปเท่าไรนัก
ติดสูงเท่านี้แล้วกัน 7-8 เมตร ก็พอ

เราใช้เครื่องในกระป๋องๆ แบบนี้ที่
เรียกว่า e-Callisto ในการรับสัญญาณ
จากสายอากาศ และ upload ไปยัง
เว็บไซต์ในต่างประเทศเพื่อวิเคราะห์
ว่าเป็นสัญญาณจริงหรือเปล่า จากดาวอะไร
 
เพื่อนๆ ที่มาร่วมกิจกรรมในคราวนี้ก็ได้รับทั้งควาามสนุกสนาน ได้ของติดไม้ติดมือไปเล่นกัน ได้ความรู้ติดตัวไปเล่าสู่กันฟัง แล้วพบกันในกิจกรรรมของชมรม The DXER (Thailand) - E20AE ในครั้งต่อไปนะครับ 

73 DE E20AE